วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ระบบรับการรักษาพยาบาลของคนฝรั่งเศส


วัคซินพร้อม ใบสั่งยาจากแพทย์ บัตรรายการที่ต้องฉีดวัคซินและนพฬวรรณพร้อม รอพยาบาลอยู่ที่บ้านคะ
จากบทความตอนความรู้เกี่ยวกับ immigration( ผู้อพยพ) ของมาดามนั้น นพฬวรรณได้กล่าวว่าประชาชนของฝรั่งเศสทุกคนจะได้รับการสิทธิในการรักษาพยาบาลฟรี ฉะนั้นเพื่อเป็นการต่อยอดในเรื่องของการรักษาพยาบาลฟรี นพฬวรรณจึงขอกล่าวถึงระบบการรับบริการด้านการรักษาพยายาลของคนฝรั่งเศสว่าเป็นอย่างไร

ระบบการรักษาพยาบาลที่นี่ก็เหมือนเมืองไทยที่มีทั้งโรงพยาบาลของรัฐ โรงพยาบาลเอกชน
คลีนิคแพทย์ ร้านขายยา รวมถึงคลีนิคที่ตรวจวินิจฉัยปฎิบัติการทางการแพทย์ (laboratoire d' analyses medicales) และคลีนิคที่ให้บริการด้านการฉายรังสีต่างๆ(radiologie ) แต่มีประเด็นที่แตกต่างจากระบบการรักษาพยาบาลของไทยคือ


คลีนิคแพทย์ประจำครอบครัวซึ่งอยู่ใกล้บ้าน

1. ที่นี่ประชาชนทุกคนไม่ว่าจะเป็นบุคลาการของรัฐหรือบุคคลทั่วไปได้รับการรักษาพยาบาลฟรีทุกโรคไม่จำเป็นต้องจ่าย 30 บาทอย่างเมืองไทยเรา เพราะจ่ายค่าภาษีแพงมากไปแล้ว..อิอิ..ล้อเล่นนะ เพราะไม่ใช่ประเด็นที่สำคัญ ประเด็นที่สำคัญของข้อนี้คือประชาชนเป็นผู้เลือกสถานบริการเองไม่ใช่รัฐเป็นผู้กำหนด อย่างเช่นคุณสามีเลือกที่ใช้บริการจากคุณหมอที่มีคลีนิคอยู่แถวบ้านเนื่องจากโรงพยาบาลอยู่ไกลและไม่ชอบไปรอที่โรงพยาบาล และคลินิคนี้ปิดเวลา 18.00น. ซึ่งก่อนไปพบคุณหมอจะโทรนัดคุณหมอล่วงหน้าทำให้คุณสามีสามารถนัดตรวจหลังเวลาเลิกงานได้ทำให้ไม่ต้องเสียเวลางานและไม่ต้องไปรอรับการตรวจโรค เมื่อประชาชนเลือกสถานที่ให้บริการได้แล้วก็จะไปแจ้งกับทางรัฐบาลว่าเราต้องการไปรับการตรวจรักษากับคลีนิคไหนหรือ
โรงพยาบาลไหน ทางรัฐก็จะออกบัตรที่ใช้ในการรักษาพยาบาล( Carte vitale)
ให้ บัตรมีสีเขียวและลักษณะเหมือนกับบัตรเครดิตทั่วๆไป และทางรัฐก็จะส่งข้อมูลของเราไปให้คลีนิคหรือโรงพยาบาลที่เราเลือก เมือเราไปใช้บริการในสถานบริการ ที่เราเลือก และทางสถานบริการใส่บัตร Cart vitale ของเราไปในเครื่องที่คล้ายเครื่องรูดบัตร (เครื่องนี้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์) ข้อมูลของเราก็จะขึ้นที่จอคอมพิวเตอร์ของสถานบริการนั้น ...เจ๋งอ่ะ..และบัตรติดรูปถ่ายด้วยฉะนั้นจะมั่วเมี่ยไม่ได้ บัตรของใครของมันนะจ้ะ และถ้าหากเราเลือกตรวจกับคุณหมอใกล้บ้านซึ่งเป็นแพทย์รักษาโรคทั่วไป แต่โรคของเราจำเป็นต้องพบแพทย์เฉพาะทางคุณหมอท่านนี้ก็จะจัดการติดต่อแพทย์เฉพาะทางให้ แล้วเราโทรไปนัดเวลาพบแพทย์เฉพาะทางอีกทีหนึ่ง..ดูหลายขั้นตอนแต่เราเป็นผู้กำหนดเวลาในการรับบริการร่วมกับคุณหมอ ไม่ใช่ให้หมอหรือทางสถานพยาบาลเป็นฝ่ายกำหนดแต่เพียงผู้เดียว..ดีเนาะ.. ในกรณีที่เราเลือกตรวจโรคกับคุณหมอใกล้บ้านแต่ถ้าเรามีอาการป่วยหนักก็ไปโรงพยาบาลได้เลยไม่ต้องพบหมอประจำครอบครัว และติดบัตร Cart vitale ไปด้วย


หน้าตาของ Cart vitale จะติดรูปด้วยงั้นของใครของมันคะ ห้ามมั่วนะ..อิอิ..

 2. ระบบการรักษาพยาบาลที่นี่บุคลาการทางการแพทย์แต่ละตำแหน่งจะทำงานตามบทบาทหน้าที่ของตนเองไม่มีใครทำนอกเหนือจากบทบาทตนเอง เช่น คุณหมอมีหน้าที่ตรวจวินิจฉัยก็ตรวจวินิฉัยโรคอย่างเดียวที่คลินิคคุณหมอจะไม่มียาไม่เหมือนคลีนิคที่บ้านเราที่ไปคลีนิคแล้วคุณหมอตรวจเสร็จก็จ่ายยาให้เรียบร้อย..อิอิ..ที่นี่เมื่อคุณหมอตรวจเสร็จก็จะเขียนใบสั่งยาให้เราก็จะนำใบสั่งยาไปซื้อยาที่คลีนิค ถ้ามียาต้องฉีดในวันนั้นเราก็นำยากลับไปให้คุณหมอฉีดให้ แต่ถ้าเป็นกรณีต้องฉีดยาทุกวันต่อเนื่องกันเราก็นำใบสั่งยาไปซื้อยาแล้วโทรนัดหมายพยาบาลมาฉีดยาให้ที่บ้านทุกวันอย่างต่อเนื่อง


พยาบาลมาให้บริการเจาะเลือดและฉีดวัคซินให้ที่บ้าน
อย่างกรณีของนพฬวรรณหลังจากไปสำนักงานOFII  นพฬวรรณต้องมาฉีดวัคซิน นพฬวรรณก็ต้องนำใบที่กำหนดให้ฉีดวัคซินมาให้คุณหมอเขียนใบสั่งยาให้แล้วนพฬวรรณจึงนำไปสั่งยาไปซื้อยาที่ร้านขายยา(ถ้านพฬวรรณนำบัตรที่กำหนดว่าฉีดวัค
ซินอะไรบ้างมาซื้อวัคซินเองเภสัชก็ไม่ขายให้นะคะ)หลังจากนั้นก็นัดพยาบาลมาฉีดยาให้ที่บ่้าน จากการไปสำนักงานOFII นพฬวรรณก็ได้สิทธิในการตรวจรักษาฟรี ซึ่งนพฬวรรณต้องการตรวจสุขภาพขั้นพิ้นฐานเราก็ไปพบคุณหมอๆก็เขียนใบสั่งยาว่าเจาะเลือดเพื่อตรวจหาอะไรบ้าง เราก็โทรนัดเวลาพยาบาลให้มาเจาะเลือดให้ที่บ้านพร้อมกับฉีดวัค
ซินเลย และพยาบาลเป็นผู้นำเลือดไปนำเลือดไปส่งให้กับคลีนิคตรวจวินิจฉัยปฎิบัติการทางการแพทย์ เมื่อผลการตรวจได้ทางคลีนิคจะโทรมาเราก็ไปรับผลแล้วนำผลไปให้คุณหมอดู พอคุณพยาบาลให้บริการเสร็จเราก็แค่ยื่นบัตร Cart vitale ให้เธอๆก็แค่เสียบบัตรเข้ากับเครื่องรูดการ์ดของเธอโดยเราไม่ต้องจ่ายเงิน เป็นอันเสร็จพิธี ง่ายและเร็ว พอเธอกลับเราก็รีบโซ้ยข้าวเลย....อิอิ


3. ระบบการเบิกจ่ายเงินไม่ยุ่งยาก ทุกบุคลากรที่ให้บริการด้านการรักษาพยาบาลจะมีเครื่องมือตัวหนึ่งเหมือนที่รูดการ์ดบัตรเครดิตตามร้านต่างๆ เมื่อเราไปใช้บริการบุคลากรทางการแพทย์จะนำบัตร Cart vitale ของเราใส่เครื่องเหมือนใส่บัตรเครดิตโดยเราไม่ต้องจ่ายเงินแล้วบุคลากรทางการแพทย์ท่านนั้นจะไปรับเงินกับรัฐบาลเองยกเว้นในส่วนของคุณหมอ หรือคลีนิคที่ให้บริการด้านการฉายรังสีต่างๆบางแห่งจะเก็บเงินจากเราแล้วหลังจากนั้นประมาณ1-2 อาทิตย์เงินจากรัฐบาลก็จะเข้าบัญชีเราโดยที่เราไม่ต้องเอาใบเสร็จไปทำเรื่องเบิกให้ยุ่งยาก...เจ๋งม่ะ..

4. ระบบการรักษาฟรีที่ครอบคลุมพื้นที่ไม่ว่าประชาการจะอยู่ส่วนไหนของประเทศและภายในประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป(27ประเทศ) สมมติว่าเราเดินทางไปเมืองอื่นแล้วเกิดป่วยเราก็ใช้บัตร Cart vitaleในการรักษาได้เลยแต่ต้องจ่ายเงินก่อนทุกจุดที่รับบริการ แล้วเงินก็จะเข้าบัญชีเองภายใน 1-2
สัปดาห์โดยอัตโนมัติ แต่ถ้าหากเราไปเที่ยวประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปแล้วป่วยเราต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลก่อนเช่นกัน แต่ต้องเก็บใบเสร็จไว้กลับมาทำเรื่องเบิกที่ฝรั่งเศส...สุดยอดอ่ะ

5. ประชาชนสามารถเลือกที่จะรับบริการที่บ้านได้  อย่างกรณีภรรยาของคุณสามีที่เสียชีวิตไปแล้ว ช่วงที่เธอป่วยก่อนเสียชีวิตเธอไม่สามารถลุกไปไหนได้และต้องฉีดยาทุกวันๆละ 2 ครั้งเช้า-เย็น เธอสามารถปฏิเสธการนอนโรงพยาบาลได้ เธอสามารถมีเตียงนอนสำหรับคนไข้ที่บ้าน พร้อมทั้งพยาบาลจะมาดูแลเช็ดตัวให้เธอและฉีดยาให้เธอที่บ้านวันละ 2 ครั้ง ซึ่งค่ายา ค่าเตียง ค่าพยาบาลค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลทั้งหมดรัฐจ่ายให้คะ..โดยคุณหมอเจ้าของคนไข้จะเป็นผู้เขียนใบสั่งย่าว่าคนไข้ต้องใช้อะไรบ้าง เช่นเตียงคนไข้ หรืออุปกรณ์ต่างๆที่ต้องใช้ในการรักษาพยาบาล แล้วเราก็จะนำไปนี้ไปให้ทางสำนักงานที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้วทางสำนักงานจะออกเอกสารให้เรา เราก็นำเอกสารนี้ไปที่ร้านค้าโดยไม่ต้องจ่ายเงินซักยูโร แล้วทางร้านเค้าไปจัดการเบิกเงินกับทางการเอง

จากการเลือกการรับบริการการรักษาพยาบาลของครอบครัวสามีจะเห็นได้ว่าไม่ใช่เป็นการรับบริการแบบ one stop service แต่ทั้งสามีและดิฉันก็เลือกใช้บริการแบบนี้ดีกว่าไปโรงพยาบาลเพราะการไปรับบริการที่โรงพยาบาลใช้เวลานานทั้งการขับรถไปและไปรอรับบริการ และการเลือกใช้บริการใกล้บ้านก็สะดวกแค่เดินไปและนัดหมายไว้ก่อนล่วงหน้าและในส่วนของพยาบาลกับคลีนิคการตรวจวินิจฉัยปฎิบัติการทางการแพทย์ เราจะนัดพยาบาลให้มาบริการทีบ้านและนำเลือดไปส่งให้คลีนิคเองซึ่งเป็นข้อที่ดีมากคะ อย่างในกรณีที่เจาะเลือดหาคลอเรสเตอรอลเราต้องงดน้ำงดอาหารหลังเที่ยงคืน ถ้าเราเลือกไปโรงพยาบาลเราต้องแล้วตื่นแต่เช้าไปรอการเจาะเลือดที่โรงพยาบาล และจะดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารได้หลังการเจาะเลืดเท่านั้น ฉะนั้นถ้าเราเลือกที่จะให้พยาบาลมาเจาะเลือดให้ที่บ้านเราเพียงแต่โทรไปนัดเวลาให้เธอมาเจาะเลือดให้และเธอไม่เคยมาเกินเวลานัดหมาย ดังนั้นเราก็ไม่ต้องหงุดหงิดและหิวที่ต้องรอเป็นเวลานานเหมือนไปที่โรงพยาบาล..ไงล่ะเข้าท่ามั๊ยล่ะ....

จะเห็นได้ว่าการให้บริการด้านการรักษาพยาบาลของประเทศฝรั่งเศสนับว่าเป็นการให้บริการที่ครอบคลุมทั่วทุกคนทุกพิ้นทีโดยที่

1.ไม่มีเงื่อนไขอะไรที่ยุ่งยากคนไข้จะรับการรักษาที่ไหนก็ได้ อาจเป็นเพราะระบบที่ทันสมัยที่สามารถลิงค์ข้อมูลจากผู้ให้บริการรักพยาบาลในจุดต่างๆไปถึงสำนักงานของรัฐและรัฐก็จัดสรรเงินให้ได้เร็ว

 2. รัฐให้บริการด้านการรักษาพยาบาลแบบยึดประชาชนเป็นศูนยฺกลาง เพราะประชาชนเป็นผู้เลือกสถานบริการเองโดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นโรงพยาบาลของรัฐเท่านั้นถึงจะฟรี(ที่ประเทศไทยข้าราชการต้องไปใช้บริการของโรงพยาบาลรัฐบาลเท่านั้นถึงจะเบิกเงินคืนได้) และเราสามารถเลือกใช้บริการกับคลีนิค
แพทย์แถวบ้านได้  โดยรัฐเป็นผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาลทั้งหมดฉะนั้นจึงไม่มีปัญหาโรงพยาบาลเอกชนปฏิเสธการให้บริการคนไข้ จะจนหรือรวยเมื่อป่วยก็ได้รับการรักษาฟรีเหมือนกันหมดทุกคน รวมถึงคนไข้มีสิทธิ์ที่จะเลือกรับบริการที่บ้านได้ด้วย

แต่ของไทยเท่าที่นพฬวรรณจำได้เกี่ยวกับบัตรประกันสังคม มีแบบฟร์อมให้กรอกชื่อโรงพยาบาลเป็นโรงพยาบาลของรัฐ 1 โรงและโรงพยาบาลเอกชน 1 โรง(ที่เมืองไทยไม่เปิดโอกาสให้เลือกไปใช้บริการกับคลีนิคเอกชน)ที่เราต้องการไปรับบริการนพฬวรรณก็กรอกชื่อโรงพยาบาลไปตามกำหนดแต่ผลออกมาเป็นโรงพยาบาลรัฐบาลที่นพฬวรรณไม่ได้เลือก(แล้วจะให้ตรูเขียนเลือกโรงพยาบาลไปทำไมฟ่ะ)  และหลังรับการรักษาต้องนำไปเสร็จรับเงินไปเบิกคะซึ่งนานคะกว่าจะได้เงินคืน ซึ่งตอนที่อยู่เมืองไทยเมื่อนพฬวรรณเจ็บป่วยเล็กน้อย(นพฬวรรณไม่เคยป่วยมากคะ)ไม่เคยใช้บัตรประกันสังคมไปรับบริการที่โรงพยาบาลเลยเพราะโรงพยาบาลที่รัฐเลือกให้นพฬวรรณไปรับบริการนี้มีชื่อเสียงมากเกี่ยวกับ มีคนไข้มากและต้องใช้เวลาในการรอนานนพฬวรรณจึงเลือกที่จะจ่ายเงินเองและโดยไปซื้อยาเองที่ร้านขายยา ซึ่งอยู่ที่นี่เภสัชไม่สามารถขายยาโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์ ถ้าเป็นไข้หวัดแล้วไปร้านขายยายาที่จะซื้อได้คือ วิตามินซีและพาราเซตามอล คิดว่ากฎหมายเมืองไทยก็กำหนดบทบาทและหน้าที่ของบุคลากรแต่ละตำแหน่งทางการแพทย์ไว้ชัดเจนแต่กฎหมายหรือกฎเกฑณ์ต่างๆก็ยังอยู่ในกระดาษการนำออกมาใช้หรือบทลงโทษไม่รุนแรงและคนไข้ผู้รับบริการเองก็ยอมรับการทำงานของบุคคลาการทางการแพทย์ที่ทำงานเกินบทบาทของตนเอง (อาจเป็นเพราะบุคคลากรทางการแพทย์เรายังไม่เพียงพอป่ะ) เพราะบางคนอาจไม่ชอบที่ต้องไปหาหมอแล้วเดินไปร้านขายแล้วซื้อยาเอง และชอบแบบ one stop serviceคือไปคลีนิคแพทย์ที่เดียวแล้วจบ )

มาถึงตอนนี้นพฬวรรณเข้าใจอย่างชัดเจนเลยว่าทำไมบางประเทศที่ยากจนในกลุ่มสหภาพยุโรปพากันเข้ามาอยู่ในประเทศฝรั่งเศส และที่นพฬวรรณเขียนมาทั้งหมดไม่ได้เป็นการดูถูกดูแคลนระบบการรักษาพยาบาลของไทยเพราะนพฬวรรณก็เคยเป็นบุคลาการทางการแพทย์มาก่อนและที่สำคัญเป็นคนไทยหัวใจไทยที่รักประเทศไทย แต่เขียนเล่าเรื่องต่างๆออกมาจากความจริงที่ประสบมากับตัวเอง เพื่อต้องการที่จะสะท้อนให้เห็นภาพระบบการรักษาพยาบาลของที่นี่และของเมืองไทย นพฬวรรณคิดว่าผู้นำที่ทำหน้าที่ในการพัฒนาระบบการรักษาพยาบาลของไทยทราบดีว่าประชาชนอยากให้ระบบการรักษาพยาบาลเป็นอย่างไรแต่ด้วยข้อจำกัดหลายๆอย่างของประเทศเราที่ไม่อาจจะเอื้ออำนวยให้ประชาชาชนเป็นศูนย์กลางในการรับบริการด้านการรักษาพยาบาลอย่างได้อย่างเต็มตัว นพฬวรรณจึงฝันว่าวันหนึ่งประเทศไทยเราจะพร้อมที่จะให้บริการด้านการรักษาพยาบาลที่ฟรีโดยครอบคลุมทั้วทุกคนทุกพิ้นที่และให้บริการแบบยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ถ้าเป็นเช่นนี้ได้คงไม่มีใครเขียนจดหมายถึง คุณบิณฑ์
 บรรลือฤทธิ์ เพื่อขอความช่วยเหลือให้เข้าไปให้ความช่วยเหลือคนไข้ที่ฐานะยากจนในถิ่นทุรกันดารที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบการรักษาพยาบาลของรัฐหรอก ว่าม่ะ....และสุดท้ายที่ต้องกล่าวถึงคือ ขอขอบคุณคุณสามีที่ให้ความร่วมมือในการสืบค้นข้อมูลครั้งนี้เป็นอย่างดี..merci boucoup(แปลว่าขอบคุณหลายๆเด้อ)....




วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

Le bateau "Warrior 1912" บ้านเรือนแพฝรั่ง



ขนมหม้อแกงถั่วที่นพฬวรรณทำไปรับประทานที่เรือWarrior 1912

ครั้งที่แล้วนพฬวรรณได้กล่าวถึงบ้านเรือนแพฝรั่งที่ดัดแปลงมาจากเรือบรรทุกสินค้า Péniche ซึ่งมีลักษณะท้องเรือแบนแต่มีข้อจำกัดคือไม่สามารถแล่นในท้องทะเลได้  แต่ในความเป็นจริงบ้านเรือนแพฝรั่งไม่ได้จำกัดอยู่ที่เรือนแพ (Péniche) เท่านั้น แต่บ้านเรือนแพฝรั่งบางลำ (ใช่คำว่าลำนะคะเพราะมีสภาพเป็นเรือ)อาจดัดแปลงมาจากเรือเดินสมุทรหรือบางลำดัดแปลงมาจากเรือรบในประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 (น่าสนใจใช่มั๊ยล่ะ..)

นพฬวรรณนับว่าโชคดีที่ได้รู้จักเจ้าของบ้านเรือนแพฝรั่งลำหนึ่ง เธอและคนรักของเธอไม่ใช่คนฝรั่งเศสแต่เป็นคนอังกฤษที่ตอนนี้ย้ายมาอยู่ที่ฝรั่งเศสและอยู่เมืองเดียวกับนพฬวรรณ เธอคนนี้เป็นเพื่อนที่เรียนภาษาฝรั่งเศสกับนพฬวรรรณซึ่งเธอนับเป็นเพื่อนที่ดีและเป็นเพื่อนคนแรกของนพฬวรรณในฝรั่งเศสที่เป็นชาวต่างชาติ

เมื่อเธอเห็นนพฬวรรณโพสต์เรื่อง Péniche บ้านเรือนแพฝรั่ง เธอจึงบอกว่าเธอก็อยู่ที่บ้านเรือนแพเช่นกัน และเรือที่อยู่เป็นเรือสมัยสงครามโลก เท่านั้นแหละนพฬวรรณตาโตด้วยอาการอยากรู้อยากเห็น..อิอิ..จึงขอไปเยี่ยมเธอที่บ้านเรือนแพซึ่งเธอยินดีมากนพฬวรรณเลยขอทำอาหารไทยกับขนมไทยไปทานมื้อกลางวันกับเธอที่บ้านเรือนแพของเธอ ซึ่งนพฬวรรณทำต้มข่าไก่กับขนมหม้อแกงไปคะ..ดีใจจังเธอ (เธอชื่อFiona Garton ต่อขอเขียนชื่อเธอเป็นภาษาไทยว่า "ฟีโอน่า"นะคะ) และคนรักของเธอ(ชื่อDavid Askem ต่อขอเขียนชื่อเธอเป็นภาษาไทยว่า"เดวิด" นะคะ ) ชอบอาหารไทยและเธอทั้งสองชมว่าอร่อยคะ..(เป็นปลื้ม อาหารไทยไม่แพ้ชาติไดในโลก..อิอิ..)

ต้มข่าไก่ที่นพฬวรรณทำไปให้เพื่อนทาน เพื่อนยกโป้งให้เลยคะ(เสน่ห์อาหารไทย..อิอิ..)

นพฬวรรณคิดว่าจะตักต้มข่าไก่ใส่ชามเล็กๆแล้ววางในจานแต่เพื่อนไม่มีชามเล็กๆ
 งั้นจานจะดูโล่ง ด้วยไหวพริบนพฬวรรณเลยเอาแตงกวากับมะเขือเทศมาจัดจาน ใช้ได้ใช่ป่ะ..อิอิ..


ตอนนี้ก็มาเริ่มที่ประวัติศาสตร์ของเรือเธอนะคะ เรือของเธอชื่อ "Warrior 1912" เป็นเรือรบราชนาวีของสหราชอาณาจักรที่มีความแข็งแกร่งมากและขับเคลื่อนโดยใช้ไอน้ำซึ่งถูกสร้างขึ้นในปี 1912 และเข้าร่วมเป็นเรือรบทั้งสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1และครั้งที่ 2 ซึ่งในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 นี้ เริอลำนี้ได้เข้าร่วมในยุทธการดันเคิร์ก"Dunkirk" แต่คนฝรั่งเศสออกเสียง "ดังแคร็ก" (คนที่สนใจหรือศึกษาเกี่ยวกับสงครามโลกเมื่อเอ่ยถึงDunkirk จะร้องอ๋อทันที แต่นพฬวรรณ มาร้องอ๋อทีหลังตอนมาศึกษาเพิ่มเติม ตอนเพื่อนพูด "Dunkirk" นพฬวรรณ งง หลายแป๊บเลยคะ..อิอิ) ซึ่งยุทธการดันเคิร์กเป็นหนึ่งในศึกครั้งใหญ่ในสงครามโลกครั้งที่สองระหว่างวันที่ 26 พฤษภาคม จนถึงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2483 (ค.ศ.1940)ในขณะนั้นกองกำลังขนาดใหญ่ของสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสถูกล้อมไว้โดยหมู่ยานเกราะเยอรมัน ซึ่งครอบครองอาณาบริเวณตลอดชายฝั่งช่องแคบที่เมืองคาเลส์ ทหารสัมพันธมิตรกว่า 330,000 นายสามารถอพยพผ่านทางทะเลซึ่งเรือที่สามารถอพยพนายทหารออกมาได้คือเรือจำนวนมากประกอบไปด้วยเรือจับปลาและเรือเก่าที่ถูกซ่อมแซมใหม่ เรือนาวิกพานิชย์และเรือรบราชนาวี ซึ่งต่างเดินเรือไประดมพลกันที่เมืองเชียร์เนสแล้วเรือทุกลำได้มุ่งหน้าไปยังดันเคิร์ก(Dunkirk) และเรือพวกนี้ถูกจารึกในประวัติศาสตร์ว่า"The little ships of  Dunkirk"และหนึ่งในนั้นคือ "Warrior 1912"



รูปโฉมของบ้านเรือนแพที่ดัดแปลงมาจากเรือ Warrior 1912

หนังสือที่นพฬวรรณถือคือThe little ships of  Dunkirk และข้างในมีการกล่าวถึงเรือWarrior 1912 และจุดที่นั่งเป็นห้องนั่งเล่นที่อยู่ชั้นล่างของเรือ










ประตูเข้าบ้านเรือนแพ Warrior 1912 ถ่ายรูปกับเจ้าของเรือ คุณฟีโอน่าและคุณเดวิด


ส่วนบริเวณหัวเรือ และตรงบริเวณโต๊ะนั่งเล่นกินลมชมวิวเจ้าของบอกว่าในอดีตเป็นที่ตั้งของปืนใหญ่ที่ยิงต่อสู้ข้าศึก..บรื้อสสสส

 ฟังเรื่องของเรือมาถึงตรงนี้แล้วนพฬวรรณภูมิใจแทนเพื่อนที่ได้เป็นเจ้าของเรือในประวัติศาสตร์ลำนี้ และเพื่อนก็ภูมิใจมากด้วยเธอทั้งสองให้นพฬวรรณดูหนังสือที่รวบรวมเรื่องราวของ "The little ships of  Dunkirk" และให้เอกสารเกี่ยวกับเรือลำนี้มาอ่านด้วย(ถ้าเพื่อนๆต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรือลำนี้ก็ถามกันมาได้นะคะ)  รวมถึงกางแผนที่ให้ดูว่า Dunkirk อยู่ตรงไหน ซึ่งนพฬวรรณคิดว่าตัวเองก็โชคดีที่มีโอกาสได้เรียนรู้เรื่องเรือ "Warrior 1912" และที่สำคัญมีโอกาสมาเยี่ยมเยือนเรือลำนี้โดยนับว่าเป็นประสบการณ์ที่เงินก็ซื้อไม่ได้เพราะเจ้าของเรือไม่ได้เปิดให้ชมเรือแบบธุรกิจแต่นพฬวรรณมีโอกาสเพราะเธอชอบนพฬวรรณ(คนน่ารักนิสัยดีก็อย่างนี้แหละ..คริ คริ) เพื่อนสามีที่เป็นคนฝรั่งเศสเห็นนพฬวรรณโพสต์รูปนพฬวรรณกับเรือนี้ในเฟสบุคเธอยังได้เขียนแสดงความคิดเห็นว่า" Quelle chance vous avez " หมายถึงประมาณว่า" เธอช่างมีโอกาสที่ดีอะไรเช่นนี้" มาถึงตอนนี้ทุกคนคงอยากรู้เกี่ยวกับเจ้าของเรือแล้วใช่ม่ะ..

เจ้าของเรือคนแรกเคยเป็นกัปตันของเรือลำนี้แล้วเรือก็ขายตกทอดกันมาจนถึงคุณเดวิด (ก็เพื่อนของนพฬวรณไง) ซึ่งมีโอกาสได้ซื้อเรือลำนี้และเป็นผู้ครอบครองลำดับที่ 5 ถามไถ่ราคาคุณเดวิดก็บอกว่าซื้อมาไม่แพงแค่ 150,000 ยูโร ประมาณ 6 ล้านบาท (แค่่ 6 ล้านบาทนีนะ..อิอิ) ถ้าให้ตีราคาตอนนี้เรือลำนี้ก็มีค่าประมาณ 200,000 ยูโร ประมาณ 8ล้านบาท (ราคานี้เรามาซื้อบ้านที่เมืองไทยได้หลังงามๆเลยล่ะ ..หุ หุ. ) เพราะหลังจากซื้อมาเพื่อนก็ปรับปรุงและตกแต่งหมดไปหลายตังค์เพราะตกแต่งเป็นแนวโบราณ(antique) ของประดับบ้านบางอย่างหายากและราคาแพง แล้วนพฬวรรณก็เหลือบไปเห็นโคมไฟบ้านเค้าปั๊มว่า whitestar liverpoo ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตเรือไททานิคนั่นเอง และนพฬวรรณถ่ายรูปมาด้วยคะ

โคมไฟนี้ผลิตจากบริษัท" whitestar  liverpoo" ที่เป็นบริษัทเดียวกับที่สร้างเรือไททานิค (สังเกตุรูปให้ดีจะเห็นรอยปั๊มตัวอักษร "whitestar  liverpoo"

คุณเดวิดเป็นกัปตันเรือมาก่อนจึงชอบการใช้ชีวิตอยู่บนเรือและให้เหตุผลกับนพฬวรรณในการซื้อเรือมาทำบ้านก็เพราะเป็นคนชอบท่องเที่ยวและชอบสายน้ำ การมีบ้านเรือนแพแบบ bateau นี้คุณเดวิด สามารถแล่นไปตามแม่น้ำลำคลอง รวมถึงทะเลได้ และเหตุผลที่ไม่อยู่ที่ลอนดอน (เดิมคุณเดวิดและคุณฟีโอน่้า อยู่ที่ลอนดอนคะ) คุณเดวิด กล่าวว่าลอนดอนมีความเจริญแต่ผู้คนก็วุ่นวายไม่น่าอยู่ และที่นั่นไม่อนุญาติให้จอดเรือได้อย่างที่ฝรั่งเศส  คุณเดวิดเคยเดินเรือไปพักที่ประเทศสเปน แต่เลือกที่จะปักหลักอยู่ที่ฝรั่งเศสเพราะฝรั่งเศสมีความเจริญและทันสมัยแต่ไม่วุนวายต่างจากสเปนที่ความเป็นอยู่ไม่ดีอย่างฝรั่งเศสแต่กลับมีความวุ่นวายจากนักท่องเที่ยว

การเดินทางของ "Warrior 1912" จากราชอาณาจักรสู่ฝรั่งเศส : จากการที่คุณเดวิด เคยเป็นกัปตันเรือมาก่อนและมีใบขับขี่เรือจึงขับเรือเองจากสหราชอาณาจักรมาสู่ฝรั่งเศสทาง English Channel และผ่านช่องแคบ  La Manche มาสู่ตอนเหนือของฝรั่งเศสโดยใช้เวลาเดินทางในทะเลประมาณ 14 ชั่วโมง หลังจากนั้นก็แล่นเรือมาตามแม่น้ำ ลำคลองในฝรั่งเศส เดินทางไปพักไปตามเมืองต่างๆ ซึ่งเป็นทริปการเดินทางที่มีความสุขและเปี่ยมไปด้วยประสบการณ์ในการเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆในฝรั่งเศส และได้เดินทางมาถึงตอนใต้ของฝรั่งเศสโดยใช้เวลาประมาณ 2 เดือน นอกจากนั้นคุณเดวิด ยังบอกอีกว่า เรือนี่ใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง เติมแก๊สเต็มถังสามารถเดินทางได้ประมาณ 30 วัน


ห้องนอนที่แสนจะอบอุ่นเพราะติดฮิทเตอร์..อิอิ
มาถึงตอนนี้ก็เป็นหน้าที่สำรวจเรือของนพฬวรรณ : บ้านเรือนแพลำนี้มีเครื่องอำนวยความสะดวกทุกอย่างเหมือนบ้านบนพื้นดิน ทุกห้องติดฮิทเตอร์ และมีเตาไฟแบบบ้านเมืองหนาวทั่วไปเมื่อเข้ามาในเรือจึงอุ่นเหมือนเราอยุ่บ้านปกติ และเรือไม่ค่อยโคลงเคลงเนื่องจากเรือจอดอยู่ในลำคลองจึงไม่ค่อยมีคลื่น เรือมี 2 ชั้น ชั้นล่างทำเป็นห้องนอน 3 ห้องนอน  2 ห้องน้ำ และห้องนั่งเล่นหรือห้องอ่านหนังสือ 1 ห้อง ส่วนชั้นบนของเรือ ข้างหลังส่วนของคนขับจะเป็นห้องครัวซึ่งมีหมดทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นเตาแก๊ส ตู้เย็น ที่ล้างจาน ไมโครเวฟ และตู้เก็บแก้ว, จานรวมถึอุปกรณ์ต่างในครัว  ถัดจากครัวก็เป็น โต๊ะอาหารและใช้รับแขกได้ในตัวส่วนด้านนอกอาคารที่เป็นหัวเรือคุณเดวิดบอกว่าแต่ก่อนเป็นที่ตั้งปืนใหญ่ไว้ยิงศัตรู(..บรื้อสสสส...)แต่ตอนนี้เป็นโต๊ะเก้าอี้ไว้นั่งเล่นกินลมชมวิว  และการที่เป็นเรือรบมาก่อนก็ต้องมีนายทหารเสียชีวิตเป็นจำนวนมากเป็นธรรมดา นพฬวรรณเลยแอบถามคุณฟีโอน่าว่าเคยเจอ"ผี" บ้างป่ะ เธอบอกว่าไม่เคยเจอและไม่เคยฝันร้ายด้วย เธออยู่ที่นี่แล้วมีความสุขดี (สงสัยไปเกิดกันหมดแล้วมั๊ง..แหะ แหะ)



ห้องครัวมีอุปกรณ์ในการทำครัวแบบครบครัน




อีกหนึ่งห้องนอน
ห้องน้ำจัดได้น่ารักอ่ะ




















 ระบบสาธารณูปโภคในเรือ : เรือนี้ใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิงเพื่อให้เรือเดินแต่เมื่อมาจอดที่ฝรั่งเศสนี้คุณเดวิดได้ขอต่อไฟใช้จากการไฟฟ้าของฝรั่งเศสและจ่ายค่าไฟเหมือนบ้านทั่วไป ส่วนน้ำก็ต่อจากประปาของเมืองนี้และจ่ายค่าน้ำเหมือนบ้านทั่วไป ส่วนรถยนต์ก็จอดบนฝั่งในพื้นที่ว่างไม่เสียค่าจอดรถและไม่เคยมีใครแถวนั้นรถหาย..ดีจังเป็นบ้านเราหน่อยไม่ได้ไม่ทันข้ามคืนก็หายแล้ว..เหอ เหอ..ส่วนการจอดเรือแบบนี้ต้องจ่ายค่าเช่าให้กับทางการฝรั่งเศสเป็นเงิน 600 ยูโร/ปี (ประมาณ 24,000 บาท)

Santé (ซอง เต)พูดตอนชนแก้วดื่มกันคะ
ที่โต๊ะอาหารและเป็นโต๊ะรับแขกไปในตัว คนฝรั่งเศสจะพูด bonne apétit(บอนนา เป๊ปตี้) ก่อนทานอาหาร ประมาณว่า ขอให้ทานกันอย่างอร่อย

เจ้าของเรือน่ารักมากนำแผนที่มากางเพื่ออธิบายถึง Dunkirkและการเดินทางจากอังกฤษมาฝรั่งเศส




จากการเยี่ยมชมบ้านเรือนแพ Warrior 1912 ในเวอร์ชั่นปัจจุบันและจากการพูดคุยกับเจ้าของทำให้
นพฬวรรณคิดว่าเจ้าของบ้านเรือนแพตัดสินใจอยู่บ้านเรือนแพเพราะความชอบและเป็นการทำตามความฝันและความสุขของตัวเองโดยไม่ได้นำความคิดของผู้อื่น มาเป็นกรอบกำหนดความต้องการของตัวเอง ที่นพฬวรรณกล่าวเช่นนี้เพราะทั้งคู่เป็นคนชนชั้นกลางที่ไม่ใช่มหาเศรษฐี คนชนชั้นกลางที่คิดแบบคนทั่วๆไปถ้ามีเงินอยู่ก้อนหนึ่งแล้วต้องการมีบ้านและมีเงินเพียงพอที่ซื้อบ้านได้ 1 หลังคงไม่นำเงินที่ตัวเองที่มีอยู่มาซื้อเรือในประวัติศาสตร์เพื่อมาทำเป็นบ้านหรอกใช่ป่ะ  และในกรณีของเพื่อน นพฬวรรณไม่มั่นใจว่าเป็นวัตถุนิยมนะเพราะ ปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์คือการมีที่อยู่อาศัยและบ้านเรือนแพของเพื่อนก็เหมือนกับบ้านหลังหนึ่งแต่ต่างตรงที่ตั้งอยู่บนน้ำแทนตั้งบนพื้นดิน และภายในบ้านเรือนแพของเพื่อนก็เหมือนกับบ้านทั่วไปของคนที่นี่ไม่ได้มีอะไรที่บ่งบอกว่ามีอะไรที่มากกว่า เพียงแต่เลือกของตกแต่งบ้านเป็นของเก่าซึ่งนับว่ารสนิยมและความชอบของเขา ซึ่งถ้าจะตีความคำว่า"สังคมวัตถุนิยม" หมายถึงการที่ผู้คนไม่คิดอย่างอื่นนอกจากการสะสมความมั่งคั่งและแสวงหาสิ่งเสพปรนเปรอตน ถ้าในกรณีคนมีบ้านหลังงามหลายหลังแล้วยังมีซื้อบ้านทำเรือนแพอีกอันนี้นพฬวรรณคิดว่าเป็นวัตถุนิยมนะ..แต่นพฬวรรณก้ไม่ทราบนะว่าเพื่อนมีบ้านหลายหลังป่ะ..แหะ แหะ..


สร้างภาพว่ารักสัตว์..อิอิ..เพื่อนบอกว่าแมวตัวนี้มาจากสเปน
และเจ้าตัวนี้เป็นสุนัขมาจากอังกฤษ













สรุปแล้วจากการเยี่ยมชมบ้านเรือนแพของคนอังกฤษในเมืองฝรั่งเศสนี้นับเป็นวิถีชวิตใหม่ของชาวยุโรป ที่ทำตามความฝันและความชอบของตนเองโดยไม่ติดยึดกับความคิดเดิมๆที่บ้านต้องอยู่บนพื้นดินเท่านั้น(ต่างจากไทยนะคะเพราะบ้านเรือนแพไทยคนไทยในอดีตเป็นวิถีชีวิตที่สอดรับกับความผูกพันของสายน้ำ  เพราะชาวแพเหล่านี้ไม่ได้ใช้แพเป็นเพียงที่พักอาศัยแต่ยังเป็นที่สำหรับ ประกอบอาชีพคือการเลี้ยงปลาในกระชังซึ่งทำสืบทอดกันมาหลายชั่วคน ซึ่งเรียกได้ว่าสายน้ำคือชีวิตของบ้านเรือนแพไทย) สุดท้ายนี้ก็ต้องขอบคุณคุณFiona Garton และคุณDavid Askem ที่เปิดโอกาสให้เยี่ยมชมบ้านเรือนแพ "Warrior 1912" รวมถึงให้ข้อมูลแบบเจาะลึก (ตอนเขียนบล็อกนี้มีความรู้สึกสนุกและตื่นเต้นกับข้อมูลทีสืบค้นมาได้เหมือนตอนทำ Case study (กรณีศึกษา) ส่งอาจารย์สมัยเรียนปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เลย..อิอิ..(ลิงค์ด้านล่างเป็นเฟสบุคของเรือ Warrior 1912 ที่เจ้าของคนปัจจุบันทำขึ้น ใครสนใจอยากรู้เกี่ยวเรือลำนี้มากขึ้นลิงค์เข้าไปชมกันได้เลยคะ)

https://www.facebook.com/pages/Warrior1912/275057235870625?fref=photo

ภาพสวยๆที่ถ่ายจากเรือWarrior 1912 มองเห็นความสวยน้ำของท้องน้ำและเป็ดน้อยลอยน้ำ อย่างนี้อ่ะดิ ถึงมีบางคนชอบอยู่บ้านเรือนแพกัน



ขออวดหน่อยนะ ขนมหม้อแกงถั่วที่นพฬวรรณทำน่าทานมั๊ยอ่ะ..ฮิ้ว ฮิ้ว
ขนมหม้อแกงตอนยังไม่ได้ตัดแบ่งเป็นชิ้นเล็ก หน้าตาสวยใช้ได้ม่ะ..อิอิ..







วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

อาหารมื้อค่ำฉลองValentine's day(วัฒนธรรมการกินของคนฝรั่งเศส# 3)


ตอนนี้เขียนเรื่องระบบการรับบริการด้านรักษาพยาบาลของคนฝรั่งเศสใกล้เสร็จแล้วแต่ช่วงนี้เป็นช่วงของเทศกาลวันวาเลนไทน์เพื่อไม่ให้ตกกระแสงั้นขอแทรกเรื่องการรับประทานอาหารค่ำในวันวาเลนไทน์ของนพฬวรรณที่ฝรั่งเศสก่อนนะคะ

เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าวันวาเลนไทน์ซึ่งตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันแห่งความรักของคริสต์ศาสนา ซึ่งในเมืองไทยทุกคนต่างรู้จักวันวาเลนไทน์และหนุ่มสาวบางคนก็นิยมให้ดอกกุหลาบแดงแก่คนรักในวันนี้เช่นกัน  ถ้าเช่นนั้นนพฬวรรณก็ขอกล่าวถึงเรื่องราวของนพฬวรรณในวันวาเลนไทน์ขณะอยู่ที่ฝรั่งเศสเลยนะคะ

 คุณสามีเป็นคริสต์ศาสนิกชนงั้นก็เป็นปกติที่คุณเธอจะให้ความสำคัญกับวันนี้ คุณเธอจึงคิดที่จะพานพฬวรรณไปทานอาหารค่ำอันโรแมนติกที่ร้านอาหารดีๆสักแห่ง คุณเธอเลยเริ่มโทรจองโต๊ะตั้งแต่วันที่ 9 กพ. แต่ทุกร้านอาหารที่คุณเธอโทรไปจองเต็มคะ(จองล่วงหน้า 5 วันยังเต็ม อย่างนี้ต้องโทรจองล่วงหน้าเป็นเดือนมั๊ง..หุ หุ)  คุณเธอทำท่าทางแบบผิดหวังมาก (ดราม่าป่ะเนี่ย..อิอิ) และพอดีช่วงนั้นคุณสามีฟังวิทยุสถานี Delta FM (เป็นสถานีวิทยุของท้องถิ่น) ทางดีเจชวนผู้ฟังรายการเข้าร่วมเล่นเกมส์ตอบคำถามเกี่ยวกับวันวาเลนไทน์ใครตอบถูกจะมีโอกาสได้คัดเลือกเพียง 1 คู่รักเข้ามารับประทานมื้อค่ำอันแสนโรแมนติคที่ร้านอาหาร Gepetto ซึ่งเป็นร้านอาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียนและอยู่ในเขตเทศบาล Le Grau de Roi ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเขตเทศบาลที่นพฬวรรณอยู่ขับรถเพียง 10-15 นาทีก็ถึง ร้านนี้เป็นร้านอาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียนเพราะอยู่ทางใต้ของฝรั่งเศสซึ่งติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนฉะซึ่งร้านอาหารแถวนี้ส่วนมากเป็นร้านอาหารแบบนี้คะ

คุณสามีได้ยินแบบนี้ก็ลองโทรศัพท์เข้าไปร่วมรายการและตอบคำถามได้ถูกต้อง แต่ทางสถานีวิทยุต้องเปิดโอกาสให้ผู้ฟังท่านอื่นเล่นเกมส์นี้จนถึงวันศุกร์แล้วจะเลือกมาเพียง 1 คู่รักให้เข้ามาทานอาหารฟรีในวันวาเลนไทน์เท่านั้น  คุณสามีเลยกังวลว่าถ้าคู่เราไม่ได้คัดเลือกล่ะ นพฬวรรณเลยปลอบใจว่าไม่เป็นไรถ้าเราไม่ได้คัดเลือกเรามาช่วยกันทำอาหารและจัดโต๊ะอาหารและบรรยากาศในบ้านให้โรแมนติคก็ได้ แล้วนพฬวรรณจะแต่งตัวให้สวยเหมือนไปทานอาหารนอกบ้านเลยเอ้า..คุณเธอเลยอาการดีขึ้น..อิอิ.. แต่พวกเราก็ไม่ได้หวังว่าจะได้เป็นคู่ที่โชคดี พวกเราเลยเริ่มคุยเกี่ยวกับอาหารที่เราจะทำในวันวาเลนไทน์กัน แต่พอถึงเย็นวันศุกร์คุณสามีก็ได้รับโทรศัพท์จากทางรายการวิทยุว่าเราทั้งคู่ได้เชิญไปทานอาหารค่ำที่ร้าน Gepetto...เย้ เย้..พวกเราเป็นคู่รักที่โชคดีของรายการวิทยุDelta FM ในวันวาเลนไทน์  พวกเราไปถึงร้านอาหารตามเวลานัดคือ 2 ทุ่ม เจ้าของร้านออกมาต้อนรับอย่างดี ทุกโต๊ะมีชื่อเขียนจองไว้ โต๊ะของเราเป็นชื่อ Delta FM..ที่นี่เรามาเริ่มต้นเรียนรู้กันที่เมนูกันก่อนนะคะ ร้านอาหารในฝรั่งเศสเค้าจะมีเมนู 2 แบบคะ


นพฬวรรณได้รับการจองโต๊ะในนามสถานีวิทยุ Delta FM


*แบบแรกคือ Le menu (เลอ เมอ นูี) หรือ La formule (ลา ฟอคมูล) เมนูแบบนี้อาหารจะมาเป็นเช็ต ราคาจะกำหนดไว้เป็นชุด บางร้านอาจมีให้เลือกมากกว่า 1 เช็ต ส่วนใหญ่จะราคาถูกกว่าเมนูแบบที่สอง เหมือนสั่งเป็นเช็ตแล้วถูกลง แต่จะเลือกอาหารเป็นจานหรืออาหารที่อยู่นอกชุดไม่ได้ ต้องเลือกเป็นชุด ถ้าเลือกอาหารนอกชุดก็ต้องจ่ายเพิ่มคะ และบางร้านจะมีแต่เมนูประเภทนี้เลย

*แบบที่สอง La carte(ลา กาค์ต) ตัวนี้คือเมนูปกติ แล้วแต่เราจะสั่ง และราคาก็คิดตามอาหารที่เราสั่งคะ โดยอาหารที่เราสั่งจากในเมนูแบบนี้ เรียกว่้า ( ลา กาค์ต) คะ
เมนูแบบ La formule ของร้านอาหาร Gepetto ในช่วงวันวาเลนไทน์


ร้านที่นพฬวรรณไปทานมีเมนูทั้ง 2 แบบแต่วันนี้เป็นการฉลองวันวาเลนไทน์ทางร้านจึงจัดเมนูแบบแรก La formule ที่เป็นโปรโมชั่นสำหรับวันพิเศษวันนี้และนพฬวรรณเป็นลูกค้าที่คัดเลือกมาจากรายการวิทยุให้มารับประทานอาหารค่ำในวันวาเลนไทน์ฟรีฉะนั้นอาหารจึงเป็นจากเมนูพิเศษสำหรับวันวาเลนไทน์และนพฬวรรณก็เห็นว่าคู่รักคู่อื่นๆก็ใช้เมนูพิเศษในวันวาเลนไทน์เช่นกันและสนนราคาของอาหารเช็ตนี้ ราคา 39 ยโร (ประมาณ 1600 บาท) /1 ท่าน วันนั้นถ้านพฬวรรณไม่ได้เชิญไปทานฟรีเราก็ต้องจ่ายประมาณ 3,200 บาท  และถ้านพฬวรรณอยากสั่งอาหารในเมนูแบบ La carte เพิ่มก็ได้แต่ต้องเสียเงินเพิ่ม แต่พอมาเห็นรายการอาหารในเมนูแบบ La formule แล้วไม่ต้องสั่งเพิ่มคะเพราะเกินอิ่มอีก เรามาดูกันว่าเมนูพิเศษในวันวาเลนไทน์มีอะไรกัน


 1. l'apéritif เป็นพวกคอกเทล แชมเปญ จะเสริฟพร้อมกับ l'amuse-bouche วันนี้ที่ร้านจัด l' apéritif เป็นแชมเปญและจัด  l'amuse-boucheใส่ถาดสี่เหลี่ยมสีดำ น่ารักน่าทานเลยคะ
ทางร้านจัดแชมเปญให้ลูกค้าในช่วง l'apéritif
ส่วนภาพนี้ก็เป็นl'amuse-bouche ที่จัดไว้ให้ลูกค้า




2.l' entréeเป็นตัวเริ่มก่อนเข้าสู่จานหลักส่่วนนี้ทางร้านจะมี 2 จานให้ลูกค้าเลือก จานที่ 1 คือ Duo de foie จานนี้ประมาณว่าเป็นตับเป็ดบด 2 ก้อน ก้อนแรกจะนำตับเป็ดบดมาย่างกับเกลือ ส่วนก้อนที่2 จะนำตับเป็ดบดนำมาผัดกับบรั่นดีประมาณนั้น จานนี้คุณสามีเลือกไป ส่วนจานที่ 2 คือCarpaccio จานนี้เป็นอาหารประมาณว่านำ เนื้อวัว ไก่ เป็ด ปลา หอย หรืออาจเป็นผลไม้ก็ได้อย่างใดอย่างหนึ่ง มาสไลค์เป็นแผ่นบางๆแล้วโรยด้วย น้ำมันมะกอก  มะนาว เกลือ และพริกไทย และวันนั้นทางร้านนำเอาหอย noix de saint jacques เป็นประเภทหอยเชลล์(นพฬวรรณไม่รู้จักหรอกว่ามันคืออะไร แต่คุณสามีบอกว่าเป็นหอยประเภทหอยเชลล์)นำมาสไลค์เป็นแผ่นบางๆ และเจ้า entrée จานนี้เป็นอาหารอิตาเลี่ยนคะ (อิตาลีก็อยู่ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเช่นกันคะ) คุณสามีเลือกจานนี้ให้นพฬวรรณ เพราะนพฬวรรณยังไม่เก่งขนาดอ่านรายละเอียดของอาหารเป็นภาษาฝรั่งเศสได้คะ แต่คุณสามีช่วยแปลเป็นภาษาอังกฤษให้เข้าใจเพราะนพฬวรรณอยากจะทราบว่าเราทานอะไรเข้าไปบ้าง และช่วงนี้พนักงานเสริฟก็เปลี่ยนจากเครื่องดื่มจากแชมเปญเป็นไวน์แต่ให้เราเป็นผู้เลือกว่าจะรับเป็นไวน์แดง ไวน์ขาวหรือไวน์ชมพู เราเลือกไวน์แดงกันคะ


ทางร้านเปลี่ยนเครื่องดื่มจากแชมเปญเป็นไวน์ช่วงl'entré 
 
"Carpaccio"อาหารก่อนจานหลักของนพฬวรรณ
"Duo de foie" อาหารก่อนอาหารจานหลักของคุณสามี















 3. le plat principal อาหารจานหลักทางร้านก็มีให้เลือก 2 จานคะ จานที่ 1 Veau en grenadin เป็นอาหารที่ทำจากลูกวัวพันธ์หนึ่งนำมาย่างแล้วราดด้วยซอสที่ปรุงขึ้นมา ส่วนจานที่ 2   Queue de lotte เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่งโดยนำช่วงหางมาผัดด้วยน้ำมันมะกอกแล้วราดด้วยครีมซอสสีเหลืองๆและในน้ำครีมซอสที่ราดนพฬวรรณรู้สึกว่ามีข้าวผสมด้วยคะ
Veau en grenadin อาหารจานหลักที่คุณสามีเลือก
Queue de lotte อาหารจานหลักที่คุณนพฬวรณเลือก





 4.  le fromageขั้นตอนนี้คือการทานชีสกับขนมปังทางร้านจะเสริฟ  Le pain (เป็นขนมปังฝรั่งเศสที่เหมือน la baguette ซึ่งได้กล่าวแล้วในการเรียนรู้วัฒนธรรมการกินของคนฝรั่งเศสกับนพฬวรรณ#2) แต่ต่างกันตรงที่ Le pain มีขนาดเล็กกว่า ส่วนชีสไม่มีเสริฟแต่ถ้าเราต้องการก็สั่งเพิ่มได้แต่ต้องเพิ่มเงินเพราะไม่อยู่ในชุดอาหารคะ

5. le dessert ของหวานจัดมาในถาดแก้วสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่โดยจัดเป็น 2ชุดสำหรับ 2 คน ซึ่งของหวานก็มีทั้งไอศครีมและขนมต่างๆ จัดได้น่าทานและอร่อยๆทั้งนั้นเลยคะ  นพฬวรรณเลยทานซะเกลี้ยงแล้วอย่างนี้จะคุมน้ำหนักได้อย่างไรเนี่ย..แหะ แหะ..

ชุดขนมหวานสำหรับ 2 ท่าน จัดได้สวยน่าทานคะ
ดูท่าทางก็รู้ว่านพฬวรรณ ฟินมากเบย..อิอิ.


 









6. le café ในเมนูชุดนี่ไม่มี กาแฟคะ ถ้าใครต้องการก็สั่งได้แต่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม แถวโต๊ะข้างๆนพฬวรรณก็ไม่มีใครสั่งคะเพราะชุดอาหารที่จัดให้ก็อิ่มเปล่แล้วคะ

จากการไปทานอาหารนอกบ้านทำให้นพฬวรรณเห็นว่าไม่ว่าจะเป็นเมนูหรือลำดับการเสริฟอาหารพวกเราสามารถหาทานได้ที่บางโรงแรมในกรุงเทพฯ  เพราะนพฬวรรณเคยทานมาบ้างในกรุงเทพฯมาก่อน จึงไม่เรื่องปล่อยไก่ที่ร้านอาหาร..อิอิ..และจากการมีโอกาสมาอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสทำให้นพฬวรรณเข้าใจแล้วคะว่าทำไมคนที่นี่ชอบดื่มไวน์พร้อมมื้ออาหาร เพราะอากาศที่นี่หนาวมว๊ากฉะนั้นเวลาที่เราดื่มไวน์เข้าไปมันทำให้อุ่นขึ้นเยอะ หายหนาวเลยคะ แต่ไม่เมานะคะ เพราะนพฬวรรณจิบไวน์พอให้ร่างกายอุ่นเท่านั้นคะ ซึ่งนพฬวรรณคิดว่านี่คือวัฒนธรรมการกินอย่างหนึ่งของคนเมืองหนาว ซึ่งแต่ละชาติต่างมีวัฒนธรรมการกินของตนเอง และนพฬวรรณก็ไม่สามารถพูดได้ว่าวัฒนธรรมของชาติไหนดีกว่ากันเพราะมันขึ้นกับบริบทและสิ่งแวดล้อมที่เราอยู่ แต่นพฬวรรณก็ถือว่าได้เปรียบเพราะมีโอกาสได้เรียนรู้สองวัฒนธรรม(ถึงได้เขียนบล็อกเพื่อให้เพื่อนๆได้เรียนรู้วัฒนธรรมของฝรั่งเศสไปพร้อมๆกับนพฬวรรณด้วย) เลยสามารถดึงข้อดีของแต่ละวัฒนธรรมมาใช้ อย่างวันหนึ่งอากาศหนาวมากคุณสามีมีอาการน้ำมูกไหล(คุณเธอเป็นภูมิแพ้คะ)นพฬวรรณเลยทำบัวลอยงาดำน้ำขิงให้ทานและต้มน้ำขิงให้ดื่มติดต่อกัน 2-3 วันปรากฎว่าอาการดีขึ้นโดยไม่ต้องทานยา นพฬวรรณเลยกลายเป็นนางฟ้าไปในบัดดล..อิอิ...ตอนนี้จบแล้วคะและต้องขอบคุณคุณสามีเหมือนเดิมที่ช่วยอธิบายรายการอาหารต่างๆเป็นภาษาอังกฤษให้นพฬวรรณเข้าใจแต่โดยดีไม่มีบิดพริ้ว..คริ คริ..



































วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ตอนที่ 2 :ประสบการณ์เกี่ยวกับขั้นตอนการมารายงานตัวของมาดามคนไทย

 ขั้นตอนเกี่ยวการมารายงานตัวของมาดามตอนที่ 1 นพฬวรรณบอกว่าจะกล่าวถึงเหตุผลที่ว่าทำไมคนต่างชาติอยากเข้ามาอยู่ที่ฝรั่งเศสในตอน
ขั้นตอนเกี่ยวการมาราบงานตัวของมาดามนั้น  ฉะนั้นนพฬวรรณขอกล่าวถึงสิทธิประโยชน์ที่คนต่างชาติจะได้ประเทศจากฝรั่งเศสเมื่อสามารถเข้ามาอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส

คำตอบอยู่นี่คะ..ด่านสุดท้ายที่นพฬวรรณเจอที่สำนักงานOFII( office français de l' immigration et de l'intégration) นี้คือช่วงพูดคุยกับเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้ชีวิตในประเทศนี้้และสิทธิประโยชน์ของผู้ได้
รับวีซ่าแบบระยะยาว
1. ได้เรียนภาษาฝรั่งเศสฟรีโดยสามารถเรียนได้ทุกวันๆตั้งแต่วันจันทร์-วันศุกร์ละ 3-6 ชั่วโมง
2.ได้รับสิทธิในการักษาพยาบาลฟรีเหมือนประชาชนฝรั่งเศส
3.สามารถทำงานในประเทศฝรั่งเศสได้

นพฬวรรณเคยได้ยินสามีพูดว่าที่บ้านเค้ารัฐบาลดูแลผู้ที่ไม่ทำงานด้วย นพฬวรรณอยากรู้ว่าเป็นอย่างไรจึงมาศึกษาเพิ่มเติมโดยขอข้อมูลจากสามีสรุปได้ว่า (ข้อมูลนี้คุณสามีหาให้แต่นพฬวรรณเขียนเรื่องนี้นานแล้วค่ะและไม่ได้จดแหล่งที่มาของข้อมูลไว้)
* ประชาชนฝรั่งเศสถ้าทำงานอย่างน้อย 6 เดือนแล้วตกงานรัฐก็จะจ่ายเงินให้ทุกเดือนเป็นเวลา 6 เดือน
*ในกรณีที่ผู้ตกงานทำงานมาเป็นเวลานานและตกงานเมื่ออายุต่ำกว่า 50 ปีจะได้เงินจากรัฐเลี้ยงดูเป็น เวลา 2 ปีและเริ่มต้นได้รับเงินเดือนเท่ารายรับที่เคยได้ และจะลดลงทุก 6 เดือน
* ในกรณีที่ผู้ตกงานทำงานมาเป็นเวลานานและตกงานเมื่ออายุมากกว่า 50 ปีจะได้เงินจากรัฐเลี้ยงดูเป็น เวลา 3 ปีและเริ่มต้นได้รับเงินเดือนเท่ารายรับที่เคยได้ และจะลดลงทุกๆ 6 เดือน
* และถ้าเป็นผู้ชราอายุ 65 ปีขึ้นไปที่ไม่มีเงินเกษียณจากการทำงานรัฐบาลก็จะจ่ายให้ขั้นต่ำ 514 ยูโร
 และถ้าเป็นคู่สมรส(ตากะยายว่างั้นเถอะ) จะได้ 771 ยูโรแต่อย่าลืมนะคะค่าเงินของบ้านเรากับบ้านเขาต่างกันฉะนั้นเงินขั้นต่ำของผู้สูงอายุที่เขาได้รับก็ใช้ชีวิตอยู่ยากแต่ข้อดีคือได้รับการรักษาพยาบาลฟรีทุกโรคคะ  และรัฐบาลไทยก็กันไม่ให้ฝรั่งจนๆมาใช้ชีวิตในบั้นปลายที่เมืองไทยนะคร้า เพราะต่างชาติที่ขอมาใช้ชีวิตในช่วงหลังเกษียณอายุที่เมืองไทยต้องมีเงินเดือนเกษียณขั้นต่ำไม่ต่ำกว่า 65,000 บาท..รัฐบาลไทยฉลาดนะ..อิอิ..ส่วนผู้สูงอายุคนไทยก็ได้รับเงินช่วยเหลือนะคะ ปัจจุบันได้รับแบบขั้นบันได ดังนี้คะ
อายุ 60 -69 ปี จะได้รับ 600 บาท
อายุ 70 -79 ปี จะได้รับ 700 บาท
อายุ 80 -89 ปี จะได้รับ 800 บาท
อายุ 90 ปีขึ้นไป จะได้รับ 1,000 บาท...(ข้อมูลนี่นพฬวรรณเป็นผู้หามาแต่ไม่ได้จดที่มาของข้อมูลไว้ถ้าไม่ถูกต้องท้วงติงได้ค่ะ)

พวกต่างชาติที่เข้ามาอยุ่ฝรั่งเศสต่อวีซ่าทุกปีเป็นเวลา 3 ปีจะได้วีซ่าระยะยาว 10 ปี และในกรณี
นพฬวรรณได้วีซ่าประเภทแต่งงานกับชาวฝรั่งเศสถ้าอยู่ที่นี่เป็นเวลา 4ปีขึ้นไปจะได้เป็นประชากรของที่นี่แต่ต้องสอบความรู้ด้านภาษาฝรั่งเศสให้ได้ระดับB1 สำหรับประเด็นเหล่านี้นพฬวรรณเพิ่งทราบเหมือนกันและทำให้เข้าใจแล้วว่าทำไมขั้นตอนการจดทะเบียนสมรสกับคุณสามีถึงได้ยุ่งยากมากเพราะทางประเทศเขาคงกลัวว่าสาวต่างชาติแต่งงานกับชาวฝรั่งเศสเพราะหวังผลประโยชน์อย่างนี้เองทำให้นึกถึงการสัมภาษณ์ของเจ้าหน้าที่สถานฑูตฝรั่งเศสในประเทศไทยขณะที่เรา2คนไปขอจดทะเบียนสมรส เธอถามเยอะมากในเรื่องระหว่างการคบหากันของเรา 2คน และมีคำถามหนึ่งที่คุณสามีตอบได้คลาสิคมากเลยคือ"คุณ 2 คนพบกันครั้งแรกที่ไหน" คุณสามีตอบที่วัดครับ..(ฮา) ก็วัดจริงๆ เพราะนพฬวรรณไม่ได้เปฺิดโอกาสให้คุณสามีได้พบง่ายๆ(เล่นตัวไปป่ะ..อิอิ) และช่วงนั้นนพฬวรรณไปทำบุญงานบวชอุปสมบทหมู่ซึ่งลูกชายรูปหล่อของนพฬวรรณไปบวชเป็นสามเณรคุณสามีเลยขอให้รุ่นพี่ผู้ชายของนพฬวรรณซึ่งเป็นเพื่อนของคุณสามีมา 27 ปีให้พามาพบที่วัด (โบราณมากป่ะ เจอกันที่วัด..อิอิ)

นพฬวรรณคิดนะ(เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของนพฬวรรณฉะนั้นโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน..อิอิ)การที่รัฐบาลฝรั่งเศสมีสวัสดิการที่่ดีต่อประชากรทำให้ประชากรจากบางประเทศต้องการที่จะเป็
ประชากรของประเทศฝรั่งเศส ฉะนั้นนอกจากจะเห็นคนผิวสี คนอาหรับแล้ว คนจากประเทศเอเซียที่เคยเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสก็มาอยู่ที่นี่จำนวนมาก เช่น ลาว เวียดนาม และนพฬวรรณเคยพูดคุยกับคนลาวที่อยู่ที่นี่ เค้าบอกว่าเค้าอพยพมาอยู่ทีฝรั่งเศสตอนเกิดสงครามกลางเมืองในประเทศลาวปี ค.ศ.1975 ซึ่งตอนนั้นเค้าอยู่ประเทศลาวลำบากมากและไม่มีความปลอดภัยจึงตัดสินใจอพยพมาอยู่ฝรั่งเศสโดยออกจากลาวแล้วเข้ามาอยูที่เมืองไทยก่อนโดยมาอยู่ที่ดินแดง (กรุงเทพฯ)สักพักก่อนเดินทางมาอยู่ฝรั่งเศส

และจากการที่ฝรั่งเศสเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปทำให้มีประชากรจากประเทศยุโรปในกลุ่มสมาชิกสหภาพยุโรปด้วยกัน (27 ประเทศ)สามารถเดินทางเข้ามาอาศัยในประเทศฝรั่งเศสได้โดยไม่ต้องใช้วีซ่าและได้รับสิทธิประโยชน์เท่ากับคนฝรั่งเศส ซึ่งมีประชากรจากประเทศยากจนบางประเทศในกลุ่มสมาชิกสหภาพยุโรปได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศฝรั่งเศสและบางคนไม่ทำงานแต่ได้เงินดูแลจากรัฐบาลทำให้คน ฝรั่งเศสที่ทำงานและต้องจ่ายภาษีแพงรู้สึกไม่ค่อยจะพอใจ  แต่ก็เป็นเพียงความรู้สึกของคนฝรั่งเศสบางคนที่นพฬวรรณได้พูดคุยด้วย และผลลัพธ์ที่รัฐบาลได้จากการสมาชิกสหภาพยุโรปนั้นดีหรือไม่ดีอย่างไร นพฬวรรณก็ไม่สามารถตอบได้เพราะไม่ได้เป็นนักเศรษฐศาสตร์..อิอิ..และไม่ได้ทำการศึกษาประเด็นนี้อย่างเจาะลึก

จากกรณีนี้ทำให้นึกถึงประเทศไทยเหมือนกันที่กำลังเข้าสุ่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economics Community – AEC)  ที่มีเป้าหมายดี๊ดี คือการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อเพิ่มอำนาจต่
รองกับ คู่ค้า และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจระดับโลก รวมถึงมีการยกเว้นภาษีสินค้าบางชนิดให้กับประเทศสมาชิก ส่งเสริมให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง มั่นคง ประชาชนอยู่ดีกินดี ซึ่ง หมายถึงการเคลื่อนย้ายสินค้า  บริการ  ลงทุน  แรงงานฝีมือ  เงินทุน  อย่างเสรีด้วย แล้วอย่างนี้นพฬวรรณจะคิดว่าแล้วพวกประเทศเพื่อนบ้านจะเข้ามาแย่งอาชีพ แย่งการการทำหากินของพวกเราป่ะ เพราะทุกวันนี้พวกเราก็ตกงานกันเยอะอยู่นา..อันนี้นพฬวรรณลองคิดเล่นๆแบบขำๆ นะ..(คิดแบบเห็นแก่ตัวอ่ะดิ..อิอิ..)...

ในการสรุปข้อมูลขั้นตอนเกี่ยวการมารายงานตัวของมาดามของมาดามทั้งตอนที่ 1และ2 นี้นพฬวรรณให้คุณสามีช่วยหาข้อมูลให้เพราะลำพังนพฬวรรณคงไม่ได้ข้อมูลที่ละเอียดอย่างนี้ เพราะสืบค้นข้อมูลจากภาษาฝรั่งเศสล้วนๆ..อิอิ.. จึงขอขอบคุณคุณสามีมา ณ โอกาสนี้ที่ใจดีช่วยหาคำตอบให้ทุกคำถามที่นพฬวรรณ (เผือก) อยากรู้..คริ คริ..


ไปถ่ายรูปกับ(รูปภาพ)ท่านประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนปัจจุบัน(François Hollande)มา....อิอิ




ตอนที่1 ประสบการณ์เกี่ยวกับขั้นตอนการมารายงานตัวของมาดามคนไทย


ได้รับจดหมายจาก OFII
นพฬวรรณขอเรียกประสบการณ์ที่จะเล่านี้ว่าขั้นตอนในการมารายงานตัวของมาดามคนไทย พอนพฬวรรณมาอยู่ที่ฝรั่งเศสได้ประมาณ 1 เดือนก็ได้รับจดหมายจาก OFII( office français de l' immigration et de l'intégration) ไม่ทราบเหมือนกันว่าจะเรียกอย่างไรดี ถ้างั้นนพฬวรรณขอเรียกว่าสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองแบบบูรณาการ..(ใครรู้ว่าหน่วยงานนี้น่าจะเรียกว่าอะไรก้อช่วยบอกด้วยค่ะ) หน่วยงานนี้นัดให้ตรวจสุขภาพและจัดการเอกสารต่างๆให้นพฬวรรณได้วีซ่าในฐานะภรรยาของชาวฝรั่งเศสและได้รับสิทธิของคนที่นี่เป็นเวลา1ปี (หลังจาก 1 ปีถ้านพฬวรรณต้องการอยู่ต่อก็ทำการต่อวีซ่าได้ที่ฝรั่งเศสโดยไม่ต้องไปกลับไปทำที่ประเทศไทยและเสียค่าธรรมเนียม150ยูโร)  แต่ว่าตอนนี้นพฬวรรณต้องเสียค่าธรรมเนียม 240 ยูโรก่อน ทีแรกคิดว่ารัฐบาลเค้าใจดีจ้ดการให้ฟรี..อิอิ..ที่นี่มาดูกันว่าเมื่อเป็นภรรยาชาวฝรั่งเศสและเสียค่าธรรมเนียมไปแล้วรัฐบาลดูแลเราอย่างไรบ้าง

เมื่อไปถึงสำนักงานก็เห็นพวกอาหรับหลายคนทั้งหญิงและชายมีนพฬวรรณเป็นคนเอเซียเพียงคนเดียว (ที่นี่นับว่ามีพวกอาหรับอยู่มากพอสมควรพวกซึ่งพวกนี้ได้วีซ่าแบบระยะยาวทั้งที่ไม่ได้สมรสกับคนฝรั่งเศส) ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าทำชาวอาหรับได้วีซ่าแบบระยะยาว เมื่อถามคุณสามีคุณสามีก็บอกว่าเป็นสิ่งที่คนฝรั่งเศสก็ไม่เห็นด้วยที่คนกลุ่มนี้เข้ามาเพราะคนฝรั่งเศสบางคนคิดว่าคนพวกนี้เข้ามาก็เพราะต้องการสิทธิ์ประโยชน์ต่างๆ จากรัฐและเงินที่รัฐบาลดูแลประชากรในประเทศรวมถึงคนกลุ่มนี้มาจากเงินภาษีของประชากรฝรั่งเศสซึ่งประชากรฝรั่งเศสจ่ายค่าภาษีสูงมาก จึงเป็นธรรมดาที่พวกคนฝรั่งเศสไม่อยากให้รัฐดูแลคนพวกนี้ (ยกเว้นนพฬวรรณนะเพราะนพฬวรรณมาในฐานะภรรยาจึงสมควรได้รับสิทธิ์นี้..อิอิ.. ) และคุณสามีให้เหตุผล(อันนี้เน้นนะคะว่าเป็นมุมมองของสามีคนเดียวไม่ใช่เหตุผลจากนักวิชาการ)เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าน่าจะมาจากในอดีตพวกอาหรับและพวกสีผิวเคยเข้ามาเป็นแรงงานในประเทศฝรั่งเศสทำให้ส่งผลให้คนอาหรับและคนสีผิวสามารถเข้ามาอยู่ในประเทศฝรั่งเศสได้ และเหตุผลที่ทำไมชาวคนกลุ่มนี้อยากเข้ามาอยู่ที่ฝรั่งเศส นพฬวรรณจะกล่าวถึงใน
 "ตอนที่ 2 : ประสบการณ์เกี่ยวกับขั้นตอนการมารายงานตัวของมาดามคนไทย

ที่สำนักงาน OFII พนักงานให้การต้อนรับนพฬวรรณด้วยท่าทีเป็นมิตร นพฬวรรณนั่งรอไม่นานก็ได้ยินเสียงเรียก มาดามตามด้วยนามสกุลสามี แต่นพฬวรรณไม่คุ้นเคยกับนามสกุลใหม่..คริ คริ  เพราะยังคงจำแต่เพียงดิฉันชื่อและนามสกุลเดิม..นพฬวรรณเลยนั่งมึนประหนึ่งว่าไม่ใช่ชื่อชั้น เจ้าหน้าที่เรียก 2-3 ครั้งจนสามีสะกิด..เค้าเรียกคุณ..อ่ะ หรอ..นพฬวรรณปล่อยไก่อีกแล้วลืมไปว่าตัวเองมีนามสกุลใหม่เป็นภาษาฝรั่งเศส

ห้องแรกที่เข้าไปพนักงานสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ (ค่อยยังชั่วหน่อย) เธอก็ซักประวัติเกี่ยวกับ ประวัติการเจ็บป่วย การผ่าตัดและการฉีดวัคซิน ..นพฬวรรณแข็งแรงสมบูรณ์ดีคะ ส่วนวัคซินเธอถามหาสมุดบันทึกการฉีดวัคซิน..โถ..นพฬวรรณ อายุปาไป 50 ปีแล้วคะ สมุดบันทึกการฉีดวัคซินไปอยู่มุมไหนของโลกแล้วก็ไม่รู้ เธอก็เลยให้บัตรที่กำหนดให้นพฬวรรณไปฉีดวัคซิน คอตีบ  บาดทะยักและโปลิโอ(Diphtérie-Tétanos- Poliomyélite)หลังจากนั้นก็ไปเอกซ์เรย์ทรวงอก ตอนเอกซ์เรย์นี่ซิ นพฬวรรณไม่ชอบเลย ที่บ้านเราถ้าเอกซ์เรย์ทรวงอกจะถอดเสื้อชั้นในเช่นกันแต่เจ้าหน้าที่จะมีเสื้อให้เราใส่คลุม แต่ที่นี่ไม่มีคร้า..เธอให้นพฬวรรณถอดเสื้อออกแล้วเดินโทงๆไปเอกซ์เรย์..นพฬวรรณขอเสื้อคลุมเธอก็ไม่เข้าใจเพราะนางนี้เธอพูดและฟังภาษาอังกฤษไม่ได้..อั๊ยย่ะ..นพฬวรรณเลยต้องเดินโทงๆไป
เอกซ์เรย์...กรรม...หุ หุ..ประสบการณ์นี้นพฬวรรณหวังว่าจะช่วยทำให้ผู้ที่รอคิวเป็นมาดามฝรั่งเศสคนต่อไปเตรียมใส่เสื้อผ้าได้เหมาะสมรับการสถานการณ์เช่นนี้นะคะ..คริ คริ..


เจ้าหน้าที่ฉายวิดีโอเกียวกับประเทศฝรั่งเศสให้ดู

หลังจากเอ็กเซย์เสร็จเจ้าหน้าที่ให้นั่งดูวิดีโอที่อธิบายเกียวกับประเทศฝรั่งเศสและที่นพฬวรรณจำได้แม่นคือบ้านเค้าปกครองโดยเน้นระบบความเท่าเทียมกันตามคำขวัญของประเทศที่ว่าเสรีภาพ(Liberté ) เสมอภาค(Egalité) ภราดรภาพ (Fraternité) วิดีโอได้ถ่ายทอดให้เห็นภาพของผู้หญิงที่ทำงานได้เท่าเทียมผู้ชายในทุกอาชีพไม่ว่าจะเป็น ผู้พิพากษา พนักงานขับรถบัสฯลฯ บ้านเราก็มีแต่น้อยบ้านเค้าผู้หญิงขับรถบัสประจำทางมีเท่าๆกับผู้ชาย ตำรวจหญิง ก็มีเยอะคะ ผู้หญิงที่ต้องการความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ มาอยู่นี่กับนพฬวรรณเลย นพฬวรรณมาถูกประเทศแล้วคะ..อิอิ..

ขั้นตอนที่สี่ไปพบคุณหมอ(นี่ก็ค่อยยังชั่วหน่อยเพราะคุณหมอพูดภาษาอังกฤษ)เพื่อดูผลเอ็กซ์เรย์ทรวงอก คุณหมอบอกนพฬวรรณว่า ผลเอ็กซ์เรย์ออกมาแล้วทุกอย่างปกติจะไม่ปกติได้อย่างไรล่ะนพฬวรรณไม่เคยสูบุหรี่ ไม่เคยอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินหายใจซะหน่อย ตอนนั้นนพฬวรรณคิดนะว่าทางสำนักงานต้องการตรวจเกี่ยวกับวัณโรคแน่ๆ..แล้วก็จริงด้วยซิเพราะระหว่างนั่งรอ เจ้าหน้าที่ได้พูดกับชาวอาหรับเป็นภาษาอาหรับปนฝรั่งเศสคุณสามีได้ยินคำว่า "tuberculosis" หมายถึงโรควัณโรค และเจ้าหน้าที่บอกว่าถ้าใครเป็นโรคนี่ให้รีบไปรักษาหลังจากนั้น 2 เดือนให้กลับมาเช็คอีกครั้งถ้ารักษาไม่หายต้องกลับประเทศไปนะจ้ะ

สรุปแล้วการที่ทางฝรั่งเศสทำการเอ็กซ์เรย์ทรวงอกนพฬวรรณและให้นพฬวรรณไปฉีดวัคซินล้วนแต่เป็นการควบคุมโรคติดต่อทั้งนั้นอ่ะดิ(ไอ้เราก็หลงคิดว่าเป็นห่วงเรา..อิอิ)  ซึ่งโรคที่ติดต่อทางการหายใจคือ วัณโรคและคอตีบ โรคที่ติดต่อทางปาก(โดยกินเข้าไป)คือโปลิโอ และโรคที่ติดต่อทางบาดแผลคือบาดทะยัก และที่ให้ไปตรวจร่างกายนี่เป็นการควบคุมโรคติดต่อที่กลัวว่าเราจะเอาไปติดต่อให้กับคนฝรั่งเศสใช่ป่ะเนี่ย..ของประเทศไทยเราก็มีการควบคุมโรคติดต่อพวกนี้กับแรงงานต่างด้าวเช่นกันแต่ค่าตรวจถูกกว่าที่ฝรั่งเศสเยอะ ในประเทศไทยแรงงานต่างด้าวต้องตรวจสุขภาพและซื้อหลักประกันสุขภาพคนละ 2,200 บาทต่อปี พร้อมกำหนด 5 โรคที่ควบคุมในแรงงานต่างด้าว คือ วัณโรค โรคเท้าช้าง โรคเรื้อน โรคซิฟิลิส และโรคพยาธิในลำไส้ แต่นพฬวรรณไม่ทราบว่าหากคุณสามีย้ายไปอยู่ประเทศไทยกับนพฬวรรณต้องรับการควบคุมโรคแบบแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยป่ะ ใครรู้ช่วยบอกทีคะ..
บัตรที่ให้นพฬวรรณไปฉีดวัคซิน

วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

Péniche บ้านเรือนแพฝรั่ง

เมื่อวานไปซุปเปอร์มาร์เก็ตเจอเพื่อนชาวเยอรมันที่เรียนภาษาฝรั่งเศสด้วยกัน ก็ทักทายกันปกติพอก่อนจากเห็นเพื่อนไม่ได้เอารถมาเลยคิดว่าบ้านเพื่อนต้องอยู่ใกล้ๆเลยถามว่าบ้านเธออยู่ไหนเพื่อนชี้ไปที่แม่น้ำหลังซุปเปอร์มาร์เก็ต งง..คนอะไรอยู่ในน้ำเลยถามอีกรอบเพื่อนก็ชี้ไปที่แม่น้ำอีกนพฬวรรณก็มองเห็นเรือจอดอยู่หลายลำ สามีเลยบอกว่าเค้าอยู่ที่ Péniche งง นพฬวรรณ งงอีก ก็เรือภาษาฝรั่งเศสเรียกเรือว่า "Bateau" ไม่ใช่หรอแล้วทำไมคุณสามีเรียก "Péniche" ล่ะ..ฮู้..

กลับมาบ้านก็ตั้งหลักค้นคว้าหาข้อมูลและให้คุณสามีช่วยอธิบายอึกที ได้ความว่า Bateau หมายถึงเรืออย่างที่นพฬวรรณเข้าใจนั่นแหละ แต่ Péniche หมายถึงเรือประเภทหนึ่งซึ่งเป็นเรือบรรทุกที่มีลักษณะท้องแบนและใช้ในการขนส่งสินค้า ฉะนั้นเรือประเภทนี้จะมีขนาดใหญ่ คนที่นิยมใช้ชีวิตอยู่บนเรือก็จะซื้อเรือบรรทุกพวกนี้มาดัดแปลงให้เหมือนบ้านและอาศัยอยู่บนเรือ งั้นนพฬวรรณเรียกว่าบ้านเรือนแพฝรั่งละกัน (นพฬวรรณค้นคำนี้เจอในพจนานุกรมบางเล่มแปล Péniche ว่าเรือนแพเหมือนกัน)

ฝรั่งเศสเริ่มมีบ้านเรือนแพเมื่อคนเริ่มเปลี่ยนจากการขนส่งสินค้าจากทางโดยเรือบรรทุกมาเป็นการขนส่งทางบกโดยรถบรรทุก เจ้าของเรือจึงพากันขายเรือผู้ซื้อเรือจึงนำเรือมาดัดแปลงเป็นบ้านเรือนแพ หรือบางคนนำเรือมาดัดแปลงเพื่อใช้ในธุรกิจการท่องเที่ยวเช่นนำมาทำเป็นเรือท่องเที่ยวที่แล่นไปตามแม่น้ำ ทำเป็นโรงแรมบนเรือ หรือบางคนนำมาทำเป็นร้านอาหารหรูบนเรือล่องไปตามแม่น้ำเช่นกัน ซึ่งไม่ต่างจากเมืองไทยที่พอการขนส่งสินค้าทางเรือบรรทุกไม่ได้รับความนิยมเพราะผู้คนเปลี่ยนมาขนส่งทางบกโดยรถบรรทุกกันเจ้าของเรือก็พากันขายเรือและส่วนมากเราจะเห็นเรือพวกนี้กลายมาเป็นเรือเพื่อการท่องเที่ยวเช่นกัน เช่นเรือสำหรับทานอาหารมื้อค่ำล่องบนแม่น้ำเจ้าพระยา หรือบางคนซื้อเรือมาทำร้านอาหารขายก๋วยเตี๋ยวเรือบนลำน้ำในคลองรังสิต หรือถ้ามีคนซื้อมาทำบ้านเรือนแพคงไม่มากเท่าที่ฝรั่งเศสเพราะที่นี่บ้านเรือนแพ Péniche นับเป็นบ้านประเภทหนึ่ง

และเรือพวกนี้สนนราคาอยู่ที่ 50,000 ยูโร ถึง 750,000 ยูโร ถ้าเทียบเป็นเงินไทยก็ประมาณ 2 ล้านบาท ถึง20ล้านบาท อั๊ยยะ!!!! เรือที่ราคาต่ำส่วนมากมีขนาดเล็กและยังไม่ได้ดัดแปลงหรือตกแต่งเป็นบ้าน ส่วนเรือที่ราคา 20 ล้านบาทได้โฆษณาขายว่าได้ดัดแปลงและตกแต่งเป็นเรือแบบโรงแรมซึ่งแล่นไปตามแม่น้ำในที่เมืองนพฬวรรณอยู่(เมืองที่นพฬวรรณอยู่เป็นเมืองท่องเที่ยวเพราะเป็นเมืองประวัติศาสตร์คะ)โดยมีที่พักสำหรับลูกค้าได้ 6 คนและสำหรับพนักงาน 4 คน (ซื้อโรงแรมมา 20 ล้านแล้วลูกค้าพักได้ 6 คนจะคิดค่าบริการคืนเท่าไหร่ละเนี่ย..หุ หุ..)

ส่วนเรื่องไฟฟ้าส่วนมากจะติดเครื่องปั่นไฟไว้ในเรือ(ราคาเรือขนาดนี่ติดเครื่องปั่นไฟน่ะเรื่องเล็ก ว่าป่ะ) และถ้าเรือบางลำอยากใช้ไฟของรัฐบาลก็ทำได้โดยติดต่อกับการไฟฟ้า ( EDF =Electricité de France) เพื่อขอใช้ไฟเหมือนไฟบ้านทั่วไป และพวกเรือเหล่านี้ก็ต้องจ่ายค่าเช่าที่จอดเรือให้กับรัฐบาล ถึงตอนนี้จำได้แล้วว่านพฬวรรณเคยรู้จักคนฝรั่งเศสคนหนึ่งเค้าบอกเค้าอยู่บนเรือตอนนั้นไม่ได้รู้เรื่องบ้านเรือนแพฝรั่งเลยถามกลับไปว่าไม่มีบ้านอยู่หรอถึงไปอยู่บนเรือเค้าบอกเรือนั่นแหละบ้านเค้าบ้านเค้าใหญ่นะแล้วก้อตกแต่งสวยด้วย อ๋อ หรา..ตอนนี้เข้าใจล่ะ..อิอิ..
ข้างหลังนพฬวรรณเป็นเรือนแพฝรั่งจอดเรียงรายกันอยู่
เมื่อเห็นเรือนแพฝรั่งทำให้ย้อนมานึกถึงเรือนแพไทยที่นพฬวรรณเคยไปเที่ยวก็ที่เรือนแพแม่น้ำสะแกกรังจังหวัดอุทัยธานี ซึ่งมีวิถีชีวิตที่สอดรับกับความผูกพันของสายน้ำ  เพราะชาวแพเหล่านี้ไม่ได้ใช้แพเป็นเพียงที่พักอาศัยแต่ยังเป็นที่สำหรับประกอบอาชีพคือการเลี้ยงปลาในกระชังซึ่งทำสืบทอดกันมาหลายชั่วคน เมื่อนั่งเรือผ่านจึงเห็นภาพของวิถีชีวิตอันสวยงามของชาวเรือนแพ ส่วนเรือนแพฝรั่งนับเป็นรสนิยมเป็นความชอบของคนที่อยากมีบ้านอยู่บนพื้นน้ำแต่ไม่ได้ใช้สายน้ำในการเลี้ยงชีพฉะนั้นก็คงไม่อาจกล่าวได้ว่าแม่น้ำคือชีวิตของพวกเค้า แต่ถึงอย่างไรเราก็คิดว่าเค้าคงรักและดูแลรักษาน้ำที่เรือเค้าล่องลอยอยู่ถึงแม้ไม่เห็นวิถีชึวิตการพึ่งพาอาศัยสายน้ำของพวกเค้าแต่เราก็คิดว่าพวกเค้าคงมีความสุขอยู่ในบ้านบนพื้นน้ำที่พวกเค้าเลือกและจะเหมือนกับเนื้อเพลง "เรือนแพ สุขจริง อิงกระแสธารา
หริ่งระงมลมพลิ้วมา กล่อมพฤกษา ดั่งว่าดนตรี"  ของเพลงเรือนแพบ้านเราป่ะ..อิอิ..

ภาพของเรือ Pénicheที่ราคา 50,000ยูโร ประมาณ(2ล้านบาท) ซักลำมั๊ยอ่ะ..อิอิ..



ภาพขอเรือ Péniche ที่ราคา 750,000ยูโร( ประมาณ 20ล้านบาท)เรือแบบโรงแรมสำหรับล่องไปตามแม่น้ำ
 จองห้องพักซักห้องมั๊ย..อิอิ..







วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ภูมิปัญญาชาวฝรั่งเศส : เครื่องหอม "la pomme d'ambre"



la pomme d'ambre ฝีมือนพฬวรรณ

คุณป้าลอร่าเชิญมาทานน้ำชาที่บ้าน
ความที่นพฬวรรณเป็นสะใภ้ใหม่ที่ใครๆก็รัก..อิอิ..นพฬวรรณและสามีได้รับเชิญจากเพื่อนๆและญาติๆของสามีหลายท่านเชิญไปทานอาหารกลางวันบ้าง อาหารเย็นบ้าง หรือบางท่านก็เชิญเราทั้ง 2 ไปดื่มชายามบ่าย  และท่านหนึ่งที่นพฬวรรณประทับใจและทำให้นพฬวรรณเกิดการเรียนรู้ใหม่ คือคุณป้า Lora (ลอร่า) ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านของสามี คุณป้าได้เชิญนพฬวรรณและสามีไปดื่มชาพร้อมเสริฟเจ้าขนมแห่งกษัตริย์(galette)ในยามบ่ายวันหนึ่งของเดือนมกราคม  งานนี้นพฬวรรณได้ของพิเศษในขนมอีกแล้วเลยได้มงกุฏมาสวม แต่วันนี้นพฬวรรณมีสิ่งที่น่าสนใจมากกว่ามงกุฏกระดาษสีทองบนศรีษะ เพราะสายตาไปสะดุดกับส้มบนโต๊ะที่ปักด้วยกิ่งเล็กๆของอะไรสักอย่างรอบๆผล ก็สงสัยอ่ะดิว่าทำไมต้องเอาอะไรไปปักบนผลส้ม มันต้องมีเหตุผลอะไรซักอย่าง อยากรู้มากถ้าไม่ได้คำตอบนอนไม่หลับแน่..อิอิ.. 

คุณป้าดีใจที่นพฬวรรณให้ความสำคัญกับสิ่งที่คุณป้าประดิษฐ์ขึ้นมา คุณป้าจึงอธิบายด้วยความเอ็นดูเป็นภาษาฝั่งเศส..อิอิ.
นพฬวรรณไม่เข้าใจหรอกคะก็ได้คุณสามีช่วยแปลเป็นภาษาอังกฤษให้ฟังสรุปได้ว่าเจ้าผลนี้เรียกว่า" la pomme d'ambre" อ่านว่า ลา ปอม ดองเบรอะ เป็นผลส้มที่ปักด้วยดอกแห้งของกานพลู (clou de girofle) ทำเพื่อให้เกิดกลิ่นหอม และถ้าไว้ในตู้เสื้อผ้าจะช่วยป้องกันเสื้อผ้าไม่ให้แมลงกัดจนเป็นรู นอกจากนั้นยังนำมาตกแต่งบ้านให้สวยงามซึ่งนิยมทำกันในช่วงคริสมาสต์และสามารถเก็บรักษาได้เป็นปีโดยไม่เน่าแต่จะค่อยๆแห้งไปในที่สุด  และพอกลับมาบ้านนพฬวรรณก็เริ่มศึกษาข้อมูลของ la pomme d'ambre จนได้ข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้คะ
ปีนี้นพฬวรรณได้ใส่มงกุฎกระดาษสีทอง 2 ครั้ง


 la pomme d'ambre หมายถึงแอปเปิ้ลสีอำพัน(ซึ่งมีสีน้ำตาล เหลือง หรือส้ม) เป็นเครื่องหอมจากประเทศฝรั่งเศสที่ทำจากวัสดุธรรมชาติโดยนำดอกกานพลูแห้งมาปักบนผลส้มและมีมาตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์ยุคกลางเนื่องจากยุคนั้นมีกาฬโรคระบาด บ้านเมืองมีความสกปรก มีปัญหาด้านสุขาภิบาลทำให้อากาศมีกลิ่นเหม็นคนฝรั่งเศสในยุคนั้นจึงใช้ la pomme d'ambre ช่วยในการดับกลิ่นและฆ่าเชื้อโรคในอากาศ และในศตวรรษที่ 17-18 ชาวฝรั่งเศสเริ่มนำ la pomme d'ambre มาใช้ตกแต่งบ้านในช่วงคริส์มาสต์ รวมทั้งมีการพัฒนารูปแบบโดยนำทองหรือเงินมาทำเป็นรูปทรงกลมแล้วใส่เครื่องหอมต่างๆข้างในและนำไปแขวน ได้รับความนิยมอย่างมากจนแพร่หลายไปทั่วยุโรปและแพร่ไปสู่อเมริกาในที่สุด

 เมื่อเห็นคนฝรั่งเศสสามารถนำประโยชน์จากกานพลูมาใช้ คนไทยเราต้องไม่น้อยหน้านพฬวรรณเลยไปหาข้อมูลการใช้ประโยชน์จากกานพลูของคนไทยบ้าง คนไทยเราก็เก่งนะคะใช้ดอกกานพูลแห้งแช่เหล้าแล้วนำสำลีมาชุบเพื่ออุดรูฟันแก้ปวดฟัน และใช้ขนาด 5 - 8 ดอก ชงน้ำเดือด ดื่มเฉพาะส่วนน้ำหรือใช้เคี้ยวเพื่อลดอาการท้องเสีย ท้องอืด และข่วยขับลม รวมถึงใช่้ผสมยาอมบ้วนปากดับกลิ่นปากด้วยนะ นอกจากนั้นกานพลูยังสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดเช่น เชื้อโรคไทฟอยด์บิดชนิดไม่มีตัว เชื้อหนองเป็นต้น และยังกระตุ้นให้มีการหลั่งเมือก และลดการเป็นกรดในกระเพาะอาหารด้วย คนไทยก็เก่งไม่เบานะคะ...

จะเห็นได้ว่าทั้งเราทั้งเค้าต่างก็มีภูมิปัญญาของชาติตนเอง ไม่ได้บอกว่าของใครดีกว่า แต่ต่างกันที่มุมมองและการนำประโยชน์มาใช้ และสิ่งที่นพฬวรรณคิดว่าสำคัญคือผู้คนในแต่ละประเทศควรอนุรักษ์ภูมิปัญญาของประเทศของตนไว้ เพราะคนฝรั่งเศสรุ่นใหม่บางคนก็ไม่รู้จัก la pomme d'ambre และคนไทยบางคนก็ไม่ทราบว่ากานพลูมีประโยชน์อย่างไร มันน่าเสียดายถ้าภูมิปัญญาที่สืบทอดมานับร้อยๆปีจะหายไปกับการเวลาด้วยเหตุผลที่ว่า มันไม่ทันสมัย มันเสียเวลาในการทำ แต่อย่าลืมนะทุกภูมิปัญญาล้วนเป็นการเรียนรู้ของมนุษย์ที่นำธรรมชาติมาใช้และแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันแบบไม่ทำลายธรรมชาติและไม่มีสารพิษที่ทำร้ายตัวเราด้วย (อ่ะ นพฬวรรณบ่นอะไรเนี่ย..อิอิ)..และตอนนี้นพฬวรรณก็สบายใจแล้วที่ได้หาคำตอบให้กับสิ่งที่ตัวเองสงสัยไปเรียบร้อยแล้วแต่ถ้าจะให้รู้จริงต้องลองทำด้วยไม่ใช่รู้แต่ทฤษฎี นพฬวรรณเลยลองทำ la pomme d'ambre ดูโดยใช้ริบบิ้นที่นพฬวรรณได้จากกล่องห่อของขวัญในวันขึ้นปีใหม่มาทำ ไม่ได้ขี้เหนียวแต่นพฬวรรณ Reuse(ภาษาอังกฤษหมายถึง การนำกลับมาใช้ใหม่โดยไม่ผ่านกระบวนการแปรสภาพใดๆทั้งสิ้นคะ) โอ้โห กลิ่นหอมมากๆหอมแบบเย็นๆน่าจะเพราะกานพลูมีกลิ่นแบบเย็นๆ รู้สึกสดชื่นเลยคะ รูปลักษณ์ก็ไม่เลวใช่ป่ะ..คริ คริ..(เผลอไม่ได้เผลอเป็นชมตัวเอง)


โต๊ะที่คุณป้าจัดเพื่อทานน้ำชายามบ่ายและข้างๆแจกันดอกไม้คือ la pomme d'ambre


la pomme d'ambre ที่คุณป้าลอร่าทำ
la pomme d'ambre ที่นพฬวรรณหัดทำ



la pomme d'ambre ที่ทำจากทองหรือเครื่องเงินให้เป็นลูกกลมๆแล้วเครื่องหอมภายใน

 
การนำla pomme d'ambre มาตกแต่งในวันคริสมาต์