วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ภูมิปัญญาชาวฝรั่งเศส : เครื่องหอม "la pomme d'ambre"



la pomme d'ambre ฝีมือนพฬวรรณ

คุณป้าลอร่าเชิญมาทานน้ำชาที่บ้าน
ความที่นพฬวรรณเป็นสะใภ้ใหม่ที่ใครๆก็รัก..อิอิ..นพฬวรรณและสามีได้รับเชิญจากเพื่อนๆและญาติๆของสามีหลายท่านเชิญไปทานอาหารกลางวันบ้าง อาหารเย็นบ้าง หรือบางท่านก็เชิญเราทั้ง 2 ไปดื่มชายามบ่าย  และท่านหนึ่งที่นพฬวรรณประทับใจและทำให้นพฬวรรณเกิดการเรียนรู้ใหม่ คือคุณป้า Lora (ลอร่า) ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านของสามี คุณป้าได้เชิญนพฬวรรณและสามีไปดื่มชาพร้อมเสริฟเจ้าขนมแห่งกษัตริย์(galette)ในยามบ่ายวันหนึ่งของเดือนมกราคม  งานนี้นพฬวรรณได้ของพิเศษในขนมอีกแล้วเลยได้มงกุฏมาสวม แต่วันนี้นพฬวรรณมีสิ่งที่น่าสนใจมากกว่ามงกุฏกระดาษสีทองบนศรีษะ เพราะสายตาไปสะดุดกับส้มบนโต๊ะที่ปักด้วยกิ่งเล็กๆของอะไรสักอย่างรอบๆผล ก็สงสัยอ่ะดิว่าทำไมต้องเอาอะไรไปปักบนผลส้ม มันต้องมีเหตุผลอะไรซักอย่าง อยากรู้มากถ้าไม่ได้คำตอบนอนไม่หลับแน่..อิอิ.. 

คุณป้าดีใจที่นพฬวรรณให้ความสำคัญกับสิ่งที่คุณป้าประดิษฐ์ขึ้นมา คุณป้าจึงอธิบายด้วยความเอ็นดูเป็นภาษาฝั่งเศส..อิอิ.
นพฬวรรณไม่เข้าใจหรอกคะก็ได้คุณสามีช่วยแปลเป็นภาษาอังกฤษให้ฟังสรุปได้ว่าเจ้าผลนี้เรียกว่า" la pomme d'ambre" อ่านว่า ลา ปอม ดองเบรอะ เป็นผลส้มที่ปักด้วยดอกแห้งของกานพลู (clou de girofle) ทำเพื่อให้เกิดกลิ่นหอม และถ้าไว้ในตู้เสื้อผ้าจะช่วยป้องกันเสื้อผ้าไม่ให้แมลงกัดจนเป็นรู นอกจากนั้นยังนำมาตกแต่งบ้านให้สวยงามซึ่งนิยมทำกันในช่วงคริสมาสต์และสามารถเก็บรักษาได้เป็นปีโดยไม่เน่าแต่จะค่อยๆแห้งไปในที่สุด  และพอกลับมาบ้านนพฬวรรณก็เริ่มศึกษาข้อมูลของ la pomme d'ambre จนได้ข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้คะ
ปีนี้นพฬวรรณได้ใส่มงกุฎกระดาษสีทอง 2 ครั้ง


 la pomme d'ambre หมายถึงแอปเปิ้ลสีอำพัน(ซึ่งมีสีน้ำตาล เหลือง หรือส้ม) เป็นเครื่องหอมจากประเทศฝรั่งเศสที่ทำจากวัสดุธรรมชาติโดยนำดอกกานพลูแห้งมาปักบนผลส้มและมีมาตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์ยุคกลางเนื่องจากยุคนั้นมีกาฬโรคระบาด บ้านเมืองมีความสกปรก มีปัญหาด้านสุขาภิบาลทำให้อากาศมีกลิ่นเหม็นคนฝรั่งเศสในยุคนั้นจึงใช้ la pomme d'ambre ช่วยในการดับกลิ่นและฆ่าเชื้อโรคในอากาศ และในศตวรรษที่ 17-18 ชาวฝรั่งเศสเริ่มนำ la pomme d'ambre มาใช้ตกแต่งบ้านในช่วงคริส์มาสต์ รวมทั้งมีการพัฒนารูปแบบโดยนำทองหรือเงินมาทำเป็นรูปทรงกลมแล้วใส่เครื่องหอมต่างๆข้างในและนำไปแขวน ได้รับความนิยมอย่างมากจนแพร่หลายไปทั่วยุโรปและแพร่ไปสู่อเมริกาในที่สุด

 เมื่อเห็นคนฝรั่งเศสสามารถนำประโยชน์จากกานพลูมาใช้ คนไทยเราต้องไม่น้อยหน้านพฬวรรณเลยไปหาข้อมูลการใช้ประโยชน์จากกานพลูของคนไทยบ้าง คนไทยเราก็เก่งนะคะใช้ดอกกานพูลแห้งแช่เหล้าแล้วนำสำลีมาชุบเพื่ออุดรูฟันแก้ปวดฟัน และใช้ขนาด 5 - 8 ดอก ชงน้ำเดือด ดื่มเฉพาะส่วนน้ำหรือใช้เคี้ยวเพื่อลดอาการท้องเสีย ท้องอืด และข่วยขับลม รวมถึงใช่้ผสมยาอมบ้วนปากดับกลิ่นปากด้วยนะ นอกจากนั้นกานพลูยังสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดเช่น เชื้อโรคไทฟอยด์บิดชนิดไม่มีตัว เชื้อหนองเป็นต้น และยังกระตุ้นให้มีการหลั่งเมือก และลดการเป็นกรดในกระเพาะอาหารด้วย คนไทยก็เก่งไม่เบานะคะ...

จะเห็นได้ว่าทั้งเราทั้งเค้าต่างก็มีภูมิปัญญาของชาติตนเอง ไม่ได้บอกว่าของใครดีกว่า แต่ต่างกันที่มุมมองและการนำประโยชน์มาใช้ และสิ่งที่นพฬวรรณคิดว่าสำคัญคือผู้คนในแต่ละประเทศควรอนุรักษ์ภูมิปัญญาของประเทศของตนไว้ เพราะคนฝรั่งเศสรุ่นใหม่บางคนก็ไม่รู้จัก la pomme d'ambre และคนไทยบางคนก็ไม่ทราบว่ากานพลูมีประโยชน์อย่างไร มันน่าเสียดายถ้าภูมิปัญญาที่สืบทอดมานับร้อยๆปีจะหายไปกับการเวลาด้วยเหตุผลที่ว่า มันไม่ทันสมัย มันเสียเวลาในการทำ แต่อย่าลืมนะทุกภูมิปัญญาล้วนเป็นการเรียนรู้ของมนุษย์ที่นำธรรมชาติมาใช้และแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันแบบไม่ทำลายธรรมชาติและไม่มีสารพิษที่ทำร้ายตัวเราด้วย (อ่ะ นพฬวรรณบ่นอะไรเนี่ย..อิอิ)..และตอนนี้นพฬวรรณก็สบายใจแล้วที่ได้หาคำตอบให้กับสิ่งที่ตัวเองสงสัยไปเรียบร้อยแล้วแต่ถ้าจะให้รู้จริงต้องลองทำด้วยไม่ใช่รู้แต่ทฤษฎี นพฬวรรณเลยลองทำ la pomme d'ambre ดูโดยใช้ริบบิ้นที่นพฬวรรณได้จากกล่องห่อของขวัญในวันขึ้นปีใหม่มาทำ ไม่ได้ขี้เหนียวแต่นพฬวรรณ Reuse(ภาษาอังกฤษหมายถึง การนำกลับมาใช้ใหม่โดยไม่ผ่านกระบวนการแปรสภาพใดๆทั้งสิ้นคะ) โอ้โห กลิ่นหอมมากๆหอมแบบเย็นๆน่าจะเพราะกานพลูมีกลิ่นแบบเย็นๆ รู้สึกสดชื่นเลยคะ รูปลักษณ์ก็ไม่เลวใช่ป่ะ..คริ คริ..(เผลอไม่ได้เผลอเป็นชมตัวเอง)


โต๊ะที่คุณป้าจัดเพื่อทานน้ำชายามบ่ายและข้างๆแจกันดอกไม้คือ la pomme d'ambre


la pomme d'ambre ที่คุณป้าลอร่าทำ
la pomme d'ambre ที่นพฬวรรณหัดทำ



la pomme d'ambre ที่ทำจากทองหรือเครื่องเงินให้เป็นลูกกลมๆแล้วเครื่องหอมภายใน

 
การนำla pomme d'ambre มาตกแต่งในวันคริสมาต์


  












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น