วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ระบบรับการรักษาพยาบาลของคนฝรั่งเศส


วัคซินพร้อม ใบสั่งยาจากแพทย์ บัตรรายการที่ต้องฉีดวัคซินและนพฬวรรณพร้อม รอพยาบาลอยู่ที่บ้านคะ
จากบทความตอนความรู้เกี่ยวกับ immigration( ผู้อพยพ) ของมาดามนั้น นพฬวรรณได้กล่าวว่าประชาชนของฝรั่งเศสทุกคนจะได้รับการสิทธิในการรักษาพยาบาลฟรี ฉะนั้นเพื่อเป็นการต่อยอดในเรื่องของการรักษาพยาบาลฟรี นพฬวรรณจึงขอกล่าวถึงระบบการรับบริการด้านการรักษาพยายาลของคนฝรั่งเศสว่าเป็นอย่างไร

ระบบการรักษาพยาบาลที่นี่ก็เหมือนเมืองไทยที่มีทั้งโรงพยาบาลของรัฐ โรงพยาบาลเอกชน
คลีนิคแพทย์ ร้านขายยา รวมถึงคลีนิคที่ตรวจวินิจฉัยปฎิบัติการทางการแพทย์ (laboratoire d' analyses medicales) และคลีนิคที่ให้บริการด้านการฉายรังสีต่างๆ(radiologie ) แต่มีประเด็นที่แตกต่างจากระบบการรักษาพยาบาลของไทยคือ


คลีนิคแพทย์ประจำครอบครัวซึ่งอยู่ใกล้บ้าน

1. ที่นี่ประชาชนทุกคนไม่ว่าจะเป็นบุคลาการของรัฐหรือบุคคลทั่วไปได้รับการรักษาพยาบาลฟรีทุกโรคไม่จำเป็นต้องจ่าย 30 บาทอย่างเมืองไทยเรา เพราะจ่ายค่าภาษีแพงมากไปแล้ว..อิอิ..ล้อเล่นนะ เพราะไม่ใช่ประเด็นที่สำคัญ ประเด็นที่สำคัญของข้อนี้คือประชาชนเป็นผู้เลือกสถานบริการเองไม่ใช่รัฐเป็นผู้กำหนด อย่างเช่นคุณสามีเลือกที่ใช้บริการจากคุณหมอที่มีคลีนิคอยู่แถวบ้านเนื่องจากโรงพยาบาลอยู่ไกลและไม่ชอบไปรอที่โรงพยาบาล และคลินิคนี้ปิดเวลา 18.00น. ซึ่งก่อนไปพบคุณหมอจะโทรนัดคุณหมอล่วงหน้าทำให้คุณสามีสามารถนัดตรวจหลังเวลาเลิกงานได้ทำให้ไม่ต้องเสียเวลางานและไม่ต้องไปรอรับการตรวจโรค เมื่อประชาชนเลือกสถานที่ให้บริการได้แล้วก็จะไปแจ้งกับทางรัฐบาลว่าเราต้องการไปรับการตรวจรักษากับคลีนิคไหนหรือ
โรงพยาบาลไหน ทางรัฐก็จะออกบัตรที่ใช้ในการรักษาพยาบาล( Carte vitale)
ให้ บัตรมีสีเขียวและลักษณะเหมือนกับบัตรเครดิตทั่วๆไป และทางรัฐก็จะส่งข้อมูลของเราไปให้คลีนิคหรือโรงพยาบาลที่เราเลือก เมือเราไปใช้บริการในสถานบริการ ที่เราเลือก และทางสถานบริการใส่บัตร Cart vitale ของเราไปในเครื่องที่คล้ายเครื่องรูดบัตร (เครื่องนี้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์) ข้อมูลของเราก็จะขึ้นที่จอคอมพิวเตอร์ของสถานบริการนั้น ...เจ๋งอ่ะ..และบัตรติดรูปถ่ายด้วยฉะนั้นจะมั่วเมี่ยไม่ได้ บัตรของใครของมันนะจ้ะ และถ้าหากเราเลือกตรวจกับคุณหมอใกล้บ้านซึ่งเป็นแพทย์รักษาโรคทั่วไป แต่โรคของเราจำเป็นต้องพบแพทย์เฉพาะทางคุณหมอท่านนี้ก็จะจัดการติดต่อแพทย์เฉพาะทางให้ แล้วเราโทรไปนัดเวลาพบแพทย์เฉพาะทางอีกทีหนึ่ง..ดูหลายขั้นตอนแต่เราเป็นผู้กำหนดเวลาในการรับบริการร่วมกับคุณหมอ ไม่ใช่ให้หมอหรือทางสถานพยาบาลเป็นฝ่ายกำหนดแต่เพียงผู้เดียว..ดีเนาะ.. ในกรณีที่เราเลือกตรวจโรคกับคุณหมอใกล้บ้านแต่ถ้าเรามีอาการป่วยหนักก็ไปโรงพยาบาลได้เลยไม่ต้องพบหมอประจำครอบครัว และติดบัตร Cart vitale ไปด้วย


หน้าตาของ Cart vitale จะติดรูปด้วยงั้นของใครของมันคะ ห้ามมั่วนะ..อิอิ..

 2. ระบบการรักษาพยาบาลที่นี่บุคลาการทางการแพทย์แต่ละตำแหน่งจะทำงานตามบทบาทหน้าที่ของตนเองไม่มีใครทำนอกเหนือจากบทบาทตนเอง เช่น คุณหมอมีหน้าที่ตรวจวินิจฉัยก็ตรวจวินิฉัยโรคอย่างเดียวที่คลินิคคุณหมอจะไม่มียาไม่เหมือนคลีนิคที่บ้านเราที่ไปคลีนิคแล้วคุณหมอตรวจเสร็จก็จ่ายยาให้เรียบร้อย..อิอิ..ที่นี่เมื่อคุณหมอตรวจเสร็จก็จะเขียนใบสั่งยาให้เราก็จะนำใบสั่งยาไปซื้อยาที่คลีนิค ถ้ามียาต้องฉีดในวันนั้นเราก็นำยากลับไปให้คุณหมอฉีดให้ แต่ถ้าเป็นกรณีต้องฉีดยาทุกวันต่อเนื่องกันเราก็นำใบสั่งยาไปซื้อยาแล้วโทรนัดหมายพยาบาลมาฉีดยาให้ที่บ้านทุกวันอย่างต่อเนื่อง


พยาบาลมาให้บริการเจาะเลือดและฉีดวัคซินให้ที่บ้าน
อย่างกรณีของนพฬวรรณหลังจากไปสำนักงานOFII  นพฬวรรณต้องมาฉีดวัคซิน นพฬวรรณก็ต้องนำใบที่กำหนดให้ฉีดวัคซินมาให้คุณหมอเขียนใบสั่งยาให้แล้วนพฬวรรณจึงนำไปสั่งยาไปซื้อยาที่ร้านขายยา(ถ้านพฬวรรณนำบัตรที่กำหนดว่าฉีดวัค
ซินอะไรบ้างมาซื้อวัคซินเองเภสัชก็ไม่ขายให้นะคะ)หลังจากนั้นก็นัดพยาบาลมาฉีดยาให้ที่บ่้าน จากการไปสำนักงานOFII นพฬวรรณก็ได้สิทธิในการตรวจรักษาฟรี ซึ่งนพฬวรรณต้องการตรวจสุขภาพขั้นพิ้นฐานเราก็ไปพบคุณหมอๆก็เขียนใบสั่งยาว่าเจาะเลือดเพื่อตรวจหาอะไรบ้าง เราก็โทรนัดเวลาพยาบาลให้มาเจาะเลือดให้ที่บ้านพร้อมกับฉีดวัค
ซินเลย และพยาบาลเป็นผู้นำเลือดไปนำเลือดไปส่งให้กับคลีนิคตรวจวินิจฉัยปฎิบัติการทางการแพทย์ เมื่อผลการตรวจได้ทางคลีนิคจะโทรมาเราก็ไปรับผลแล้วนำผลไปให้คุณหมอดู พอคุณพยาบาลให้บริการเสร็จเราก็แค่ยื่นบัตร Cart vitale ให้เธอๆก็แค่เสียบบัตรเข้ากับเครื่องรูดการ์ดของเธอโดยเราไม่ต้องจ่ายเงิน เป็นอันเสร็จพิธี ง่ายและเร็ว พอเธอกลับเราก็รีบโซ้ยข้าวเลย....อิอิ


3. ระบบการเบิกจ่ายเงินไม่ยุ่งยาก ทุกบุคลากรที่ให้บริการด้านการรักษาพยาบาลจะมีเครื่องมือตัวหนึ่งเหมือนที่รูดการ์ดบัตรเครดิตตามร้านต่างๆ เมื่อเราไปใช้บริการบุคลากรทางการแพทย์จะนำบัตร Cart vitale ของเราใส่เครื่องเหมือนใส่บัตรเครดิตโดยเราไม่ต้องจ่ายเงินแล้วบุคลากรทางการแพทย์ท่านนั้นจะไปรับเงินกับรัฐบาลเองยกเว้นในส่วนของคุณหมอ หรือคลีนิคที่ให้บริการด้านการฉายรังสีต่างๆบางแห่งจะเก็บเงินจากเราแล้วหลังจากนั้นประมาณ1-2 อาทิตย์เงินจากรัฐบาลก็จะเข้าบัญชีเราโดยที่เราไม่ต้องเอาใบเสร็จไปทำเรื่องเบิกให้ยุ่งยาก...เจ๋งม่ะ..

4. ระบบการรักษาฟรีที่ครอบคลุมพื้นที่ไม่ว่าประชาการจะอยู่ส่วนไหนของประเทศและภายในประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป(27ประเทศ) สมมติว่าเราเดินทางไปเมืองอื่นแล้วเกิดป่วยเราก็ใช้บัตร Cart vitaleในการรักษาได้เลยแต่ต้องจ่ายเงินก่อนทุกจุดที่รับบริการ แล้วเงินก็จะเข้าบัญชีเองภายใน 1-2
สัปดาห์โดยอัตโนมัติ แต่ถ้าหากเราไปเที่ยวประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปแล้วป่วยเราต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลก่อนเช่นกัน แต่ต้องเก็บใบเสร็จไว้กลับมาทำเรื่องเบิกที่ฝรั่งเศส...สุดยอดอ่ะ

5. ประชาชนสามารถเลือกที่จะรับบริการที่บ้านได้  อย่างกรณีภรรยาของคุณสามีที่เสียชีวิตไปแล้ว ช่วงที่เธอป่วยก่อนเสียชีวิตเธอไม่สามารถลุกไปไหนได้และต้องฉีดยาทุกวันๆละ 2 ครั้งเช้า-เย็น เธอสามารถปฏิเสธการนอนโรงพยาบาลได้ เธอสามารถมีเตียงนอนสำหรับคนไข้ที่บ้าน พร้อมทั้งพยาบาลจะมาดูแลเช็ดตัวให้เธอและฉีดยาให้เธอที่บ้านวันละ 2 ครั้ง ซึ่งค่ายา ค่าเตียง ค่าพยาบาลค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลทั้งหมดรัฐจ่ายให้คะ..โดยคุณหมอเจ้าของคนไข้จะเป็นผู้เขียนใบสั่งย่าว่าคนไข้ต้องใช้อะไรบ้าง เช่นเตียงคนไข้ หรืออุปกรณ์ต่างๆที่ต้องใช้ในการรักษาพยาบาล แล้วเราก็จะนำไปนี้ไปให้ทางสำนักงานที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้วทางสำนักงานจะออกเอกสารให้เรา เราก็นำเอกสารนี้ไปที่ร้านค้าโดยไม่ต้องจ่ายเงินซักยูโร แล้วทางร้านเค้าไปจัดการเบิกเงินกับทางการเอง

จากการเลือกการรับบริการการรักษาพยาบาลของครอบครัวสามีจะเห็นได้ว่าไม่ใช่เป็นการรับบริการแบบ one stop service แต่ทั้งสามีและดิฉันก็เลือกใช้บริการแบบนี้ดีกว่าไปโรงพยาบาลเพราะการไปรับบริการที่โรงพยาบาลใช้เวลานานทั้งการขับรถไปและไปรอรับบริการ และการเลือกใช้บริการใกล้บ้านก็สะดวกแค่เดินไปและนัดหมายไว้ก่อนล่วงหน้าและในส่วนของพยาบาลกับคลีนิคการตรวจวินิจฉัยปฎิบัติการทางการแพทย์ เราจะนัดพยาบาลให้มาบริการทีบ้านและนำเลือดไปส่งให้คลีนิคเองซึ่งเป็นข้อที่ดีมากคะ อย่างในกรณีที่เจาะเลือดหาคลอเรสเตอรอลเราต้องงดน้ำงดอาหารหลังเที่ยงคืน ถ้าเราเลือกไปโรงพยาบาลเราต้องแล้วตื่นแต่เช้าไปรอการเจาะเลือดที่โรงพยาบาล และจะดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารได้หลังการเจาะเลืดเท่านั้น ฉะนั้นถ้าเราเลือกที่จะให้พยาบาลมาเจาะเลือดให้ที่บ้านเราเพียงแต่โทรไปนัดเวลาให้เธอมาเจาะเลือดให้และเธอไม่เคยมาเกินเวลานัดหมาย ดังนั้นเราก็ไม่ต้องหงุดหงิดและหิวที่ต้องรอเป็นเวลานานเหมือนไปที่โรงพยาบาล..ไงล่ะเข้าท่ามั๊ยล่ะ....

จะเห็นได้ว่าการให้บริการด้านการรักษาพยาบาลของประเทศฝรั่งเศสนับว่าเป็นการให้บริการที่ครอบคลุมทั่วทุกคนทุกพิ้นทีโดยที่

1.ไม่มีเงื่อนไขอะไรที่ยุ่งยากคนไข้จะรับการรักษาที่ไหนก็ได้ อาจเป็นเพราะระบบที่ทันสมัยที่สามารถลิงค์ข้อมูลจากผู้ให้บริการรักพยาบาลในจุดต่างๆไปถึงสำนักงานของรัฐและรัฐก็จัดสรรเงินให้ได้เร็ว

 2. รัฐให้บริการด้านการรักษาพยาบาลแบบยึดประชาชนเป็นศูนยฺกลาง เพราะประชาชนเป็นผู้เลือกสถานบริการเองโดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นโรงพยาบาลของรัฐเท่านั้นถึงจะฟรี(ที่ประเทศไทยข้าราชการต้องไปใช้บริการของโรงพยาบาลรัฐบาลเท่านั้นถึงจะเบิกเงินคืนได้) และเราสามารถเลือกใช้บริการกับคลีนิค
แพทย์แถวบ้านได้  โดยรัฐเป็นผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาลทั้งหมดฉะนั้นจึงไม่มีปัญหาโรงพยาบาลเอกชนปฏิเสธการให้บริการคนไข้ จะจนหรือรวยเมื่อป่วยก็ได้รับการรักษาฟรีเหมือนกันหมดทุกคน รวมถึงคนไข้มีสิทธิ์ที่จะเลือกรับบริการที่บ้านได้ด้วย

แต่ของไทยเท่าที่นพฬวรรณจำได้เกี่ยวกับบัตรประกันสังคม มีแบบฟร์อมให้กรอกชื่อโรงพยาบาลเป็นโรงพยาบาลของรัฐ 1 โรงและโรงพยาบาลเอกชน 1 โรง(ที่เมืองไทยไม่เปิดโอกาสให้เลือกไปใช้บริการกับคลีนิคเอกชน)ที่เราต้องการไปรับบริการนพฬวรรณก็กรอกชื่อโรงพยาบาลไปตามกำหนดแต่ผลออกมาเป็นโรงพยาบาลรัฐบาลที่นพฬวรรณไม่ได้เลือก(แล้วจะให้ตรูเขียนเลือกโรงพยาบาลไปทำไมฟ่ะ)  และหลังรับการรักษาต้องนำไปเสร็จรับเงินไปเบิกคะซึ่งนานคะกว่าจะได้เงินคืน ซึ่งตอนที่อยู่เมืองไทยเมื่อนพฬวรรณเจ็บป่วยเล็กน้อย(นพฬวรรณไม่เคยป่วยมากคะ)ไม่เคยใช้บัตรประกันสังคมไปรับบริการที่โรงพยาบาลเลยเพราะโรงพยาบาลที่รัฐเลือกให้นพฬวรรณไปรับบริการนี้มีชื่อเสียงมากเกี่ยวกับ มีคนไข้มากและต้องใช้เวลาในการรอนานนพฬวรรณจึงเลือกที่จะจ่ายเงินเองและโดยไปซื้อยาเองที่ร้านขายยา ซึ่งอยู่ที่นี่เภสัชไม่สามารถขายยาโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์ ถ้าเป็นไข้หวัดแล้วไปร้านขายยายาที่จะซื้อได้คือ วิตามินซีและพาราเซตามอล คิดว่ากฎหมายเมืองไทยก็กำหนดบทบาทและหน้าที่ของบุคลากรแต่ละตำแหน่งทางการแพทย์ไว้ชัดเจนแต่กฎหมายหรือกฎเกฑณ์ต่างๆก็ยังอยู่ในกระดาษการนำออกมาใช้หรือบทลงโทษไม่รุนแรงและคนไข้ผู้รับบริการเองก็ยอมรับการทำงานของบุคคลาการทางการแพทย์ที่ทำงานเกินบทบาทของตนเอง (อาจเป็นเพราะบุคคลากรทางการแพทย์เรายังไม่เพียงพอป่ะ) เพราะบางคนอาจไม่ชอบที่ต้องไปหาหมอแล้วเดินไปร้านขายแล้วซื้อยาเอง และชอบแบบ one stop serviceคือไปคลีนิคแพทย์ที่เดียวแล้วจบ )

มาถึงตอนนี้นพฬวรรณเข้าใจอย่างชัดเจนเลยว่าทำไมบางประเทศที่ยากจนในกลุ่มสหภาพยุโรปพากันเข้ามาอยู่ในประเทศฝรั่งเศส และที่นพฬวรรณเขียนมาทั้งหมดไม่ได้เป็นการดูถูกดูแคลนระบบการรักษาพยาบาลของไทยเพราะนพฬวรรณก็เคยเป็นบุคลาการทางการแพทย์มาก่อนและที่สำคัญเป็นคนไทยหัวใจไทยที่รักประเทศไทย แต่เขียนเล่าเรื่องต่างๆออกมาจากความจริงที่ประสบมากับตัวเอง เพื่อต้องการที่จะสะท้อนให้เห็นภาพระบบการรักษาพยาบาลของที่นี่และของเมืองไทย นพฬวรรณคิดว่าผู้นำที่ทำหน้าที่ในการพัฒนาระบบการรักษาพยาบาลของไทยทราบดีว่าประชาชนอยากให้ระบบการรักษาพยาบาลเป็นอย่างไรแต่ด้วยข้อจำกัดหลายๆอย่างของประเทศเราที่ไม่อาจจะเอื้ออำนวยให้ประชาชาชนเป็นศูนย์กลางในการรับบริการด้านการรักษาพยาบาลอย่างได้อย่างเต็มตัว นพฬวรรณจึงฝันว่าวันหนึ่งประเทศไทยเราจะพร้อมที่จะให้บริการด้านการรักษาพยาบาลที่ฟรีโดยครอบคลุมทั้วทุกคนทุกพิ้นที่และให้บริการแบบยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ถ้าเป็นเช่นนี้ได้คงไม่มีใครเขียนจดหมายถึง คุณบิณฑ์
 บรรลือฤทธิ์ เพื่อขอความช่วยเหลือให้เข้าไปให้ความช่วยเหลือคนไข้ที่ฐานะยากจนในถิ่นทุรกันดารที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบการรักษาพยาบาลของรัฐหรอก ว่าม่ะ....และสุดท้ายที่ต้องกล่าวถึงคือ ขอขอบคุณคุณสามีที่ให้ความร่วมมือในการสืบค้นข้อมูลครั้งนี้เป็นอย่างดี..merci boucoup(แปลว่าขอบคุณหลายๆเด้อ)....




5 ความคิดเห็น:

  1. สุดยอดมากค่ะพี่นก...

    ตอบลบ
  2. หนูรบกวน ขอปรึกษาสอบถามรายละเอียดในการรักษาที่ฝรั่งเศสได้มั้ยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

    ตอบลบ
  3. เยี่ยมมากค่ะพี่ ถูกใจหนูมากๆค่ะ 👍

    ตอบลบ